เครือข่ายการสื่อสารและการธำรงอยู่ของกลุ่มแฟนคลับ คริส พีรวัส แสงโพธิรัตน์
คำสำคัญ:
เครือข่ายการสื่อสาร, การสร้างแบรนด์บุคคล, แฟนคลับบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) กระบวนการเข้าสู่การเป็นแฟนคลับและการธำรงอยู่ของกลุ่มแฟนคลับ คริส พีรวัส (2) เครือข่ายการสื่อสารของกลุ่มแฟนคลับ คริส พีรวัส และ (3) การสร้างแบรนด์บุคคลของ คริส พีรวัส โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์เจาะลึกตัวแทนแอดมินบ้านแฟนคลับทางการ 1 คน กลุ่มแฟนคลับ 16 คน และผู้จัดการศิลปิน คริส พีรวัส รวมถึงการพิจารณาจากรูปแบบการสื่อสาร เนื้อหา บนสื่อสังคมออนไลน์ทวิตเตอร์ของกลุ่มแฟนคลับและสื่อสังคมออนไลน์ของศิลปิน
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มแฟนคลับ คริส พีรวัส มีกระบวนการเข้าสู่การเป็นแฟนคลับ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ (1) แรกพบ (2) ชื่นชอบ และ (3) หลงใหล โดยกลุ่มแฟนคลับที่พบในกลุ่มนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ (1) แฟนคลับทางการ และ (2) แฟนคลับทั่วไป เครือข่ายการสื่อสารของกลุ่มแฟนคลับ คริส พีรวัส เป็นเครือข่ายการสื่อสารแบบวงล้อ กล่าวคือ มีบ้านแฟนคลับทางการเป็นศูนย์กลางของเครือข่าย โดยมีแอดมินทำหน้าที่ในการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร ไปสู่สมาชิกภายในเครือข่ายบนสื่อสังคมออนไลน์ทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ก และอินสตาแกรม รวมถึงดูแลกลุ่มไลน์สแควร์ของกลุ่มแฟนคลับ และเป็นเครือข่ายการสื่อสารแบบทุกช่องทาง กล่าวคือ กลุ่มแฟนคลับจะมีการแบ่งกลุ่มย่อยภายในเครือข่ายตามความสนิทสนมหรือการร่วมกันจัดทำกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง จนนำไปสู่การสร้างเครือข่ายบนสื่อสังคมออนไลน์และในพื้นที่ชีวิตจริง ที่ส่งผลทำให้กลุ่มแฟนคลับมีปฏิสัมพันธ์กันอยู่เสมอ ซึ่งได้สะท้อนให้เห็นถึงการธำรงอยู่ของเครือข่ายที่มีความเข้มแข็งและยั่งยืน
การสร้างแบรนด์บุคคลของ คริส พีรวัส พบว่า ทางต้นสังกัดหรือบริษัทให้ศิลปินมีความเป็นตัวของตัวเอง โดยไม่ได้มีการกำหนดอัตลักษณ์หรือจุดยืนในการแสดงออกของศิลปิน ดังนั้นจึงทำให้แบรนด์บุคคลของ คริส พีรวัส มีความแตกต่างที่โดดเด่นเฉพาะ ซึ่งทำให้การสร้างแบรนด์บุคคลของ คริส พีรวัส ประสบความสำเร็จและเกิดความยั่งยืน และจากผลการวิจัยยังได้แสดงให้เห็นถึงปัจจัยที่ก่อให้เกิดการสร้างแบรนด์บุคคลของ คริส พีรวัส โดยมีองค์ประกอบหลัก 4 มิติ ในการสร้างชื่อเสียงให้กับแบรนด์บุคคลของ คริส พีรวัส ประกอบไปด้วย (1) องค์ประกอบมิติบุคคล คือ ศิลปินมีความสามารถพิเศษหรือความสามารถเฉพาะด้าน มีบุคลิกภาพที่โดดเด่น “เป็นตัวจริง” อุปนิสัยของศิลปินเป็นคนดี จริงใจ มีอารมณ์ขัน มนุษยสัมพันธ์ดี มีมารยาท อ่อนน้อมถ่อมตน และปรารถนาดีต่อผู้อื่น มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น เป็นที่จดจำ “ดื้อ น่ารัก สดใส” มีความแตกต่างที่โดดเด่น “ใส่ใจแฟนคลับสม่ำเสมอไม่เปลี่ยนแปลง” และมีความเป็นศิลปินสูง (2) องค์ประกอบมิติการสื่อสารกับสาธารณะ คือ ศิลปินมีภาพลักษณ์คู่จิ้นสายวายกับ
“สิงโต ปราชญา เรืองโรจน์” มีความสามารถในการใช้สื่อหลากหลายช่องทาง มีสัญลักษณ์ที่เป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มแฟนคลับ มีการสร้างสรรค์ภาษาที่ใช้สื่อสารระหว่างศิลปินกับแฟนคลับ ศิลปินมีแฮชแท็กประจำตัว และมีการติดต่อสื่อสารกับกลุ่มแฟนคลับอย่างต่อเนื่องทั้งในช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ (3) องค์ประกอบมิติบุคคลแวดล้อม คือ ศิลปินทำให้ผู้สนับสนุนรู้สึก “สนใจ คุ้มค่า ผูกพัน” และมีกลุ่มแฟนดอมที่ดี ซึ่งส่งผลทำให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุนให้คนภายนอกอยากเข้าร่วมกลุ่ม (4) องค์ประกอบมิติบริบท คือ ศิลปินมีพฤติกรรม การแสดงออกที่ไม่ขัดกับบริบทของสังคม “จริงใจ เป็นตัวของตัวเอง”
References
ภาษาไทย
กาญจนา แก้วเทพ (2555), สื่อที่ใช่ ของใครที่ชอบ: การ์ตูน โทรทัศน์ท้องถิ่น แฟนคลับ, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
กาญจนา แก้วเทพ และคณะ (2549), ใต้ฟากฟ้าแห่งการศึกษาสื่อบุคคลและเครือข่ายการสื่อสารภาพรวมจากงานวิจัย, กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
ชนกานต์ รักชาติ และพัชนี เชยจรรยา (2559), “วิธีการสื่อสารและการธำรงอยู่ของกลุ่มแฟนคลับศิลปินนักร้องกลุ่มจากประเทศเกาหลีใต้ในประเทศไทย”, วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมนิด้า, 3(1): 163-180.
ชุลีกร วงศ์ฝั้น (2560), การศึกษาขั้นตอนการสร้างแบรนด์บุคคล (Personal Branding) วิธีการสร้างและรักษาผู้ติดตาม YouTuber และเหตุผลในการติดตาม YouTuber ของผู้บริโภค, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณทิต สาขาวิชาการบริหารการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุณยนุช นาคะ (2560), แฟนคลับเกาหลี อัตลักษณ์เชิงวัตถุและชุมชนแฟนคลับ, วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณทิต สาขาวิชาการวิจัยทางสังคม คณะสังคมวิทยาและมานุษวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปภัสสรา ชัยวงศ์ และพิมพ์ผกา เจริญจิตร (2561), “คิดจากเคส : ส่องความสำเร็จจากการสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับแฟนคลับของ ‘เป๊กห้างแตก’ เป๊ก ผลิตโชค อายนบุตร จากมุมมองการสร้างแบรนด์บุคคล”, วารสารประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 11(ฉบับพิเศษ): 82-103.
ปรางค์แก้ว ปรางรัตน์ (2561), นุช: เครือข่ายการสื่อสารแฟนคลับผลิตโชค อายนบุตร บนสื่อสังคมออนไลน์ทวิตเตอร์, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณทิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปัณณธร ไม้เจริญ (2561), เครือข่ายการสื่อสารและการดำรงอยู่ของแฟนฟุตบอลไทย: กรณีศึกษา เครือข่ายแฟนบอลทีมสุพรรณบุรี เอฟซี, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณทิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พรพิชชา ชลทรัพย์ (2563), ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติกับการรับชมละครซีรีส์วาย: กรณีศึกษา แปลรักฉันด้วยใจเธอ, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณทิต สาขาวิชาการบริหารสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พัน ฉัตรไชยยันต์ (2563), “วัฒนธรรมแฟน: กรณีศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณา เป๊ก ผลิตโชค แฟนคลับ”, วารสารนิเทศศาสตร์, 38(2): 35-51.
พีรภา สุวรรณโชติ (2551), การสื่อสาร ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริง และการเรียนรู้คุณค่า
ทางบวก จากศิลปินนักร้องเกาหลีของกลุ่มแฟนคลับ, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณทิต ภาควิชานิเทศศาสตรพัฒนาการ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภูริน กสิณฤกษ์ (2556), บทบาทของการสื่อสารกับการสร้างอัตลักษณ์แฟนคลับกันพลาในสังคมไทย, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณทิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิลินดา นนทมาตร์ (2557), การสร้างแบรนด์บุคคลในธุรกิจเพลงลูกทุ่ง กรณีศึกษา หญิงลี ศรีจุมพล, การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณทิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ คณะนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สุปรีดา ช่อลำไย (2549), เครือข่ายการสื่อสารและการดำรงอยู่ของแฟนคลับธงไชย แมคอินไตย์, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณทิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุรีย์รัตน์ โกสุมศุภมาลา (2550), บทบาทของการสื่อสารต่อการธำรงรักษาเครือข่ายแฟนคลับของวงโมเดิร์น ด็อก, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณทิต สาขาวิชานิเทศศาสตรพัฒนาการ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสริมยศ ธรรมรักษ์ (2554), “การสร้างแบรนด์บุคคล: ปั้นคนให้เป็นแบรนด์”, วารสารนักบริหาร, 31(1): 106-116.
สื่อออนไลน์
คมชัดลึก (2562), “‘คริส-พีรวัส' ดีใจ แฟนคลับทำโปรเจกต์วันเกิดแน่น”, สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2564 จาก https://www.komchadluek.net/news/ent/394110
ไทยรัฐออนไลน์ (2560), “แฟนคลับจีนจริงจังมาก ทุ่มซื้อบิลบอร์ดไทม์สแควร์ นิวยอร์ก ให้คริส”, สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https://www.thairath.co.th/entertain/news/1130820
ประชาชาติธุรกิจ (2561), “ซีรีส์สายวาย…แรง ‘แกรมมี่’ ต่อยอดธุรกิจรอบทิศ”, สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2563 จาก https://www.prachachat.net/marketing/news-253073
พิชญา อุทัยเจริญพงษ์ (2563), “ป้ายวันเกิด ป้ายโฆษณาในฐานะ ‘โปรเจกต์’ อวยพรวันเกิดศิลปิน
พื้นที่ที่ต้องมีทั้งเงินและบุญบารมีถึงจะจองได้”, สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2563 จาก
https://readthecloud.co/idol-birthday-billboard/
แพรว (2562), “รักเหนียวแน่นหนึบ! เปิดใจแฟนคลับ ‘คริส-สิงโต’ ดูแลผูกพันเหมือนคนใน
ครอบครัว”, สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2563 จาก https://praew.com/people/228836.html
ภาคย์ zoomdara (2563), “ทีมพีรญา wrap! ตึกแกรมมี่ ! จัดให้ ‘คริส-สิงโต’ ฉลองปีใหม่ ก้าวสู่ปีที่ 8”, สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2563 จาก https://www.zoomdara.com/7009
Sanook (2560), “ฟีดแบ็กคนดู Sotus S The Series ตอนแรก ซีรีส์วายที่หลายคนรอคอย”, สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2565 จาก https://www.sanook.com/movie/73921/