ความตายในภาพยนตร์ผีไทยในทศวรรษที่ 2550-ต้นทศวรรษที่ 2560

ผู้แต่ง

  • กำจร หลุยยะพงศ์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ความตาย, ภาพตัวแทน, ภาพยนตร์, ภาพยนตร์ผีไทย

บทคัดย่อ

        ความตายในอดีตเป็นสิ่งที่ถูกทำให้ออกห่างจากมนุษย์ แต่ในปัจจุบันความตายกลับได้รับการเปิดเผยส่วนหนึ่งผ่านสื่อภาพยนตร์ ตามทัศนะของสำนักวัฒนธรรมศึกษาภาพยนตร์ยังประกอบสร้างความหมายของความตายบนอำนาจบางอย่าง ในที่นี้จะเพ่งพินิจความตายผ่านภาพยนตร์ผีไทยในช่วงทศวรรษที่ 2550-ครึ่งทศวรรษที่ 2560 จำนวน 12 เรื่อง เพื่อจะเผยให้เห็นว่า ภาพยนตร์ผีไทยมีศิลปะการเล่าเรื่องความตายอย่างไร อันนำไปสู่การประกอบสร้างภาพตัวแทนความตายว่าอย่างไร ภายใต้อุดมการณ์ใดที่กำหนด

        ผลการศึกษาพบว่า ภาพยนตร์ผีไทยสามารถจำแนกได้เป็นสามกลุ่ม คือ ภาพยนตร์ผีกับการฆ่าตัวตาย ภาพยนตร์ผีกับการฆาตกรรม และภาพยนตร์ผีกับความตายแบบใหม่ โดยภาพยนตร์ผีกลุ่มแรกและภาพยนตร์ผีกลุ่มที่สอง มักจะนำเสนอความตายในเชิงความน่ากลัว เพื่อตอกย้ำให้เห็นว่า หากเลือกการฆ่าตัวตายหรือการถูกฆาตกรรม โลกหลังความตายตัวละครจะกลายเป็นผีที่น่าเกลียดน่ากลัว ภาษาภาพยนตร์จะเน้นภาพที่มืด ทึม วังเวง หดหู่ อย่างไรก็ดี หากเป็นการฆ่าตัวตายเพื่อพลีชีพบนเงื่อนไขของความรักและความกตัญญูกลับได้รับการยอมรับ ส่วนภาพยนตร์ผีในกลุ่มที่สาม ยังสามารถจำแนกได้เป็นกลุ่มย่อยอีก 3 กลุ่ม คือ ผีกับเพศ โรค และการเมือง ผีกับการแหวกขนบเรื่องเพศ และผีกับการต่อสู้ของวัยรุ่น จุดร่วมของภาพยนตร์กลุ่มนี้ล้วนเป็นภาพยนตร์ผีที่ท้าทายความหมายความตายแบบใหม่ ได้แก่ ความตายไม่ได้มีความหมายถึงการจบสิ้น ความตายอาจเป็นโลกคู่ขนานที่อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขกับโลกของคนเป็น ความตายคือสีสัน และความตายคือการประกอบสร้างขึ้นมา ตัวละครอาจตายหรืออาจไม่ตายก็ได้ หรือแม้แต่ไม่รู้ว่าตาย ภาษาภาพยนตร์ในกลุ่มนี้มีลีลาการนำเสนอที่แตกต่าง ภาพหลังความตายมีความสวยงาม การใช้ภาพช้า การใช้มุขตลกขบขัน และการนำเสนอความตายมีความสลับซับซ้อน ไม่ได้ตรงไปตรงมาในลักษณะเหตุและผลเหมือนกับกลุ่มที่หนึ่งและสอง

        ผลการศึกษาพบว่า ภาพยนตร์ผีไทยสามารถจำแนกได้เป็นสามกลุ่ม คือ ภาพยนตร์ผีกับการฆ่าตัวตาย ภาพยนตร์ผีกับการฆาตกรรม และภาพยนตร์ผีกับความตายแบบใหม่ โดยภาพยนตร์ผีกลุ่มแรกและภาพยนตร์ผีกลุ่มที่สอง มักจะนำเสนอความตายในเชิงความน่ากลัว เพื่อตอกย้ำให้เห็นว่า หากเลือกการฆ่าตัวตายหรือการถูกฆาตกรรม โลกหลังความตายตัวละครจะกลายเป็นผีที่น่าเกลียดน่ากลัว ภาษาภาพยนตร์จะเน้นภาพที่มืด ทึม วังเวง หดหู่ อย่างไรก็ดี หากเป็นการฆ่าตัวตายเพื่อพลีชีพบนเงื่อนไขของความรักและความกตัญญูกลับได้รับการยอมรับ ส่วนภาพยนตร์ผีในกลุ่มที่สาม ยังสามารถจำแนกได้เป็นกลุ่มย่อยอีก 3 กลุ่ม คือ ผีกับเพศ โรค และการเมือง ผีกับการแหวกขนบเรื่องเพศ และผีกับการต่อสู้ของวัยรุ่น จุดร่วมของภาพยนตร์กลุ่มนี้ล้วนเป็นภาพยนตร์ผีที่ท้าทายความหมายความตายแบบใหม่ ได้แก่ ความตายไม่ได้มีความหมายถึงการจบสิ้น ความตายอาจเป็นโลกคู่ขนานที่อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขกับโลกของคนเป็น ความตายคือสีสัน และความตายคือการประกอบสร้างขึ้นมา ตัวละครอาจตายหรืออาจไม่ตายก็ได้ หรือแม้แต่ไม่รู้ว่าตาย ภาษาภาพยนตร์ในกลุ่มนี้มีลีลาการนำเสนอที่แตกต่าง ภาพหลังความตายมีความสวยงาม การใช้ภาพช้า การใช้มุขตลกขบขัน และการนำเสนอความตายมีความสลับซับซ้อน ไม่ได้ตรงไปตรงมาในลักษณะเหตุและผลเหมือนกับกลุ่มที่หนึ่งและสอง

        การประกอบสร้างภาพตัวแทนความตายในภาพยนตร์ผีตกอยู่ภายใต้อุดมการณ์ 4 ชุด โดย (1) อุดมการณ์หลัก คือ ศาสนา ผี จริยธรรม และความตายแบบเดิม-แบบใหม่ (2) อุดมการณ์ที่เกี่ยวกับบุคคล เช่น เพศ วัยรุ่น ความรัก ครอบครัว (3) อุดมการณ์ที่เกี่ยวกับสังคม เช่น ชาตินิยม การเมือง เศรษฐกิจ สุขภาพ และ (4) อุดมการณ์ของภาพยนตร์ ทั้งประเภทของภาพยนตร์ตระกูลผีย่อยจะส่งผลการนิยามความตายต่างกัน และแม้ภาพยนตร์ผีจะสามารถเปิดเผยความตายค่อนข้างชัดเจน แต่ก็ยังคงต้องวางบนเงื่อนไขของอุตสาหกรรมภาพยนตร์และสังคมที่กำหนดกฎกติกา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-09-2024