“ความทรงจำร่วม” ในฐานะวิธีวิทยาการศึกษา “เรื่องเล่าจากเบื้องล่าง”

ผู้แต่ง

  • กฤษณะ โชติสุทธิ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ความทรงจำร่วม, ความทรงจำแห่งชาติ, เรื่องเล่าจากเบื้องล่าง, กรอบทางสังคม

บทคัดย่อ

        บทความนี้ทบทวนงานศึกษาที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำร่วม เพื่อแสดงให้เห็นวิธีวิทยาในการศึกษาเรื่องเล่าจากเบื้องล่าง โดยแบ่งการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องออกเป็น 4 ประเด็น ได้แก่ หนึ่ง พัฒนาการการศึกษาความทรงจำร่วม สอง ความแตกต่างและแนวทางการศึกษาความทรงจำกับประวัติศาสตร์กระแสหลัก สาม การศึกษาความทรงจำแห่งชาติ และ สี่ การศึกษาเรื่องเล่าจากเบื้องล่างผ่านแนวคิดความทรงจำร่วม จากการทบทวนงานศึกษาที่เกี่ยวข้อง พบว่า ท่ามกลางวิธีวิทยาในการศึกษาความทรงจำร่วมที่มีหลากหลายแนวทาง การสร้างความทรงจำแห่งชาติถือเป็นหนึ่งในแนวทางที่นิยมใช้ในการศึกษา แนวทางความทรงจำแห่งชาติได้แสดงให้เห็นถึงเป้าประสงค์และความพยายามของรัฐบาลในการจัดการความทรงจำของผู้คน เพื่อให้การดำเนินชีวิตของผู้คนเป็นไปตามเป้าประสงค์ของรัฐบาล เนื่องจากความทรงจำได้ยึดโยงผู้คนให้สัมพันธ์กับเวลา ทั้งเวลาของอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ดังนั้น การศึกษาความทรงจำร่วมนั้นจึงมีความสำคัญในฐานะแนวทางที่ยึดโยงกับการแสวงหากรอบทางสังคมที่ส่งผลต่อความทรงจำร่วมให้แตกต่างกันออกไปของแต่ละสังคม หากกรอบทางสังคมมีลักษณะเหลื่อมหรือทาบทับแบบไม่แนบสนิทกับกรอบหรือทิศทางของรัฐบาล อาจส่งผลให้เรื่องเล่าของผู้คนที่ถือเป็นเรื่องเล่าจากเบื้องล่างสามารถสร้างความทรงจำร่วมที่แตกต่างจากความทรงจำแห่งชาติ นอกจากนี้ เรื่องเล่าที่เกิดจากเบื้องล่างอาจเป็นความทรงจำที่ปะทะ ประสาน หรือคัดง้างกับความทรงจำแห่งชาติ วิธีวิทยาการศึกษาความทรงจำร่วมจึงแสดงให้เห็นถึงความทรงจำที่หลากหลายภายในสังคม อันเป็นผลมาจากกรอบทางสังคมที่เปิดกว้างและยืดหยุ่น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-01-2025

How to Cite

โชติสุทธิ์ ก. . (2025). “ความทรงจำร่วม” ในฐานะวิธีวิทยาการศึกษา “เรื่องเล่าจากเบื้องล่าง”. วารสารศาสตร์, 18(1), 321. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/280228