การสื่อสารและการแสดงอัตลักษณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมการดื่มน้ำกระท่อมบนสื่อสังคมออนไลน์

ผู้แต่ง

  • เสริมศักดิ์ ขุนพล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

การสื่อสาร, อัตลักษณ์, น้ำกระท่อม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารของสื่อสังคมออนไลน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับน้ำกระท่อมและศึกษาการแสดงอัตลักษณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมดื่มน้ำกระท่อมที่ปรากฏบนสื่อสังคมออนไลน์ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากเพจที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับน้ำกระท่อมและมียอดติดตามสูงสุดจำนวน 10 ผลงาน วิเคราะห์เนื้อหาด้วยการอุปนัยและนิรนัยตามแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ผลวิจัยพบว่า รูปแบบการสื่อสารเริ่มจากผู้สร้างเพจพยายามสร้างความเป็นผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดให้เกิดกับผู้รับสาร ในฐานะผู้มีประสบการณ์ในการดื่มน้ำกระท่อมมาก่อน สื่อสารผ่านการเข้ารหัสข้อความ ภาพและคลิปวิดีโอที่สอดคล้องกับสถานการณ์ แบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 รูปแบบคือกลุ่มเนื้อหาพลังบวกและกลุ่มเนื้อหาสร้างกระแส  ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดสามารถดึงดูดผู้รับสารให้เข้ามามีส่วนร่วมหรือผูกพันในฐานะของสมาชิกกลุ่มด้วยธรรมชาติของสื่อสังคมออนไลน์ และส่งต่อข้อมูลให้กับสมาชิกคนอื่นๆ จนกลายเป็นการขยายผลเครือข่ายผู้ดื่มน้ำกระท่อม สำหรับอัตลักษณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมดื่มน้ำกระท่อมเกิดมาจากการรวบรวมและคัดสรรอัตลักษณ์ของเจ้าของเพจและสมาชิก แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คืออัตลักษณ์ส่วนบุคคลที่เกิดจากประโยชน์ดื่มน้ำกระท่อมและอัตลักษณ์ทางสังคมที่เกิดจากประโยชน์ทางสัญญาณสังคม โดยอัตลักษณ์ทั้งหมดถูกสร้างและยอมรับจากสมาชิกกลุ่มว่าสามารถเพิ่มความมั่นใจแก่ตนเอง และนำไปสู่การยอมรับจากสังคมภายนอกได้

References

กนิษฐา ไทยกล้า. (2559). โครงการติดตามความเคลื่อนไหวด้านอุปสงค์อุปทานสารเสพติดบนโลก ออนไลน์. กรุงเทพฯ : แผนงานภาคีวิชาการสารเสพติด สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ.

กิตติกาญจน์ หาญกุล และคณะ. (2556).สนามการต่อรองเชิงอํานาจของชาวชุมชนแออัดในจังหวัด อุบลราชธานี. วารสารศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 9(1): 45-73.

กิ่งกาญจน์ จงสุขไกล และคณะ.(2555). รายงานสถานการณ์ปัญหายาเสพติด การแพร่ระบาด และ ผลกระทบในกลุ่มเด็กและเยาวชนในพื้นที่ท่องเที่ยว : กรณีศึกษาเมืองพัทยาและเกาะล้านอำเภอบางระมุง จังหวัดชลบุรี . ชลบุรี : สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 2.

ณิชธร ปูรณะปัญญา. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการกระทาความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดของเด็กและ เยาวชนในจังหวัดบุรีรัมย์. สารนิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต. ถ่ายสำเนา

ไทยรัฐออนไลน์. (2563). บช.ปส.รุกต้นตอยานรก ตัดเครือข่ายค้ายาออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.thairath.co.th/news/crime/1789356

ผู้จัดการออนไลน์. (2561). ผลสำรวจปัญหา“สื่อร้ายกับยาบ้าในวัยโจ๋” ไอซ์-ผงขาวกำลังกลับมาเร่งหาวิธีสกัดกั้น. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2561, จาก https://mgronline.com/crime/detail/9610000099855

รชดี บินหวัง และเกษตรชัย และหีม. (2559). สภาพและปัญหาในการจัดการปัญหายาเสพติดในกลุ่มเยาวชน ไทยมุสลิมชุมชนบ้านดอนขี้เหล็ก ตำบลพะวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา.วารสารพัฒนบริหาร ศาสตร์. 56(1): 1-33.

ว้อยซ์ทีวีออนไลน์. (2560). ผลสำรวจพบเด็กไทยติดสื่อออนไลน์สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก 3 ชม. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2562, จาก https://www.voicetv.co.th/read/Sy22rxL9G

สมนึก บุญสุภา. (2559). กระท่อม.. พืชที่ทุกคนอยากรู้. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2562, จาก https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/354/กระท่อม

สมยศ ปัญญามากและคณะ. (2561). กระบวนการค้ายาเสพติดในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 18(3): 13-22.

สำนักงาน ป.ป.ส. (2560). รายงานสถานการณ์ยาเสพติดในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ห้วงตุลาคม 2559. กรุงเทพฯ: กระทรวงยุติธรรม.

Burcher N. (2012). Paid, Owned, Earned: Maximising Marketing Returns in a Socially Connected World. UK: Kogan Page

Shapiro, N.A. (2012). How Can We Redefine Information in the Age of Social Media?. In BOBCATSSS Amsterdam 2012. Wolf-Fritz Riekert and Ingeborg Simon, pp.19-23. Germany: Bad Honnef.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29