การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมรูปแบบออนไลน์เพื่อสร้างเจตคติเชิงบวกต่อคนพิการ

ผู้แต่ง

  • รติรส จันทร์สมดี วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมรูปแบบออนไลน์ , คนพิการ, สื่อออนไลน์ , เจตคติที่มีต่อคนพิการ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research)  ดำเนินงานวิจัยแบบปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR)   การศึกษาครั้งนี้แบ่งกลุ่มการศึกษาเป็น 2 กลุ่มผู้วิจัยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ได้แก่ 1.กลุ่มมีส่วนร่วมรูปแบบออนไลน์ (Online group) โดยกลุ่มนี้มีผู้เข้าร่วม 5 ส่วน (5 keys stakeholder) ได้แก่คนพิการ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญในการทำสื่อ คนทั่วไป และผู้วิจัย จำนวนทั้งหมด 12 คน 2. กลุ่มผู้มีส่วนร่วมรูปแบบออฟไลน์ (Offline group) มีบทบาทเป็นกลุ่มผู้ผลิตสื่อ จำนวน 8 คน ประกอบด้วย นักแสดง ฝ่ายถ่ายทำและตัดต่อ คนพิการและผู้วิจัยโดยกระบวนการศึกษาครั้งนี้รวมมีผู้มีส่วนร่วมทั้งหมด 20 คน วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้  เพื่อศึกษาการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างสื่อที่สร้างเจตคติเชิงบวกของคนทั่วไปที่มีต่อคนพิการในรูปแบบการสื่อสารผ่านช่องทางแบบออนไลน์  สื่อที่ได้จากกระบวนการมีส่วนร่วมคือสื่อภาพยนตร์สั้นความยาว 12 นาที ชื่อ "Just Blind" เนื้อหา และวิธีการนำเสนอที่ได้จากกระบวนการแบบมีส่วนร่วมพบว่าควรสร้างให้เรื่องคนพิการเป็นเรื่องปกติ มีความหลากหลายในการนำเสนอ ไม่ยกชูให้เก่งเหนือมนุษย์ และสร้างให้เห็นถึงผลของการหล่อหลอมการรับรู้เรื่องความแตกต่างตั้งแต่เด็กๆ ผลการศึกษาด้านกระบวนการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมรูปแบบออนไลน์พบว่าบทบาทของคู่สื่อสารในกลุ่มออนไลน์ ในกระบวนการนี้ผู้วิจัยมิได้เล่นบทเป็นผู้นำการสื่อสารแต่เพียงผู้เดียวแต่ทำหน้าที่เป็นเพียงผู้อำนวยประเด็นต่างๆ คู่สื่อสารมีการสลับบทบาทเป็นผู้ถามตอบในกลุ่มของผู้มีส่วนร่วมอย่างมีพลวัตร สามารถสร้างความร่วมมือจากกลุ่มผู้มีส่วนร่วมที่อยู่ในพื้นที่เชิงกายภาพที่ห่างไกล สามารถเกิดปฏิสัมพันธ์ในประเด็นที่เข้าใจร่วมกันได้ ผู้มีส่วนร่วมสามารถแสดงข้อคิดเห็นตามเวลาที่สะดวก ข้อจำกัดของการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมรูปแบบออนไลน์สำหรับคนพิการคือการเข้าถึงเนื้อสาร ความเข้าใจเนื้อสาร และความไม่มั่นใจในการสื่อสาร

References

ณัฐนันท์ คำภา วิไลศักดิ์ กิ่งคำ และวิภาวรรณ อยู่เย็น. (2557). อัตลักษณ์เชิงบวกแฝงนัยเชิงลบต่อคนพิการ : ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอัตลักษณ์ของคนพิการในสังคมไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย. 35(1), 125-148

ทวี เชื้อสุวรรณทวี. (2562). พิการศึกษาเชิงวิพากษ์และบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปาริชาต สถาปิตานนท์ และคณะ. (2549). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน จากแนวคิดสู่การปฎิบัติการวิจัยไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย.

ภาณุพงษ์ ทินกร.(2561).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจรรยาบรรณสื่อโทรทัศน์ในยุคดิจิทัลและแนวทางกำกับดูแล.การค้นคว้าอิสระเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สิทธิโชค วรานุสันติกูล. (2546). จิตวิทยาสังคม:ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

เอกรงค์ ปั้นพงษ์, พิชญาพร ประครองใจ และสิขรินทร์ คงสง. (2020). รูปแบบการดำเนินชีวิตกับพฤติกรรมการใช้นวัตกรรมการสื่อสารผ่าน Application : Line ทางโทรศัพท์สมาร์ทโฟนของนักเรียนระดับปริญญาตรีในจังหวัดพิษณุโลก,วารสารสักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.). 26(1).

เอกพล ดวงศรี. (2018). กรรม : อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ที่สะท้อนความเชื่อในสังคมไทย. ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Andrea Bundon. (2018). Digital Qualitative Research in Sport and Physical Activity. Routledge publication.

Andrew A. Bayor, Laurianne Sitbon, Bernd PlodererFilip Bircani1, Stewart Koplick, Margot Brereton. (2019). Leveraging Participation: Supporting Skills Development of Young Adults with Intellectual Disability Using Social Media, Pittsburgh, PA, USA.

Fabricio E. Balcazar;Christopher B. Keys; Daniel L. Kaplan;Yolanda Suararez-Balcazar. (2006). Participatory Action Research and People with Disabilities: Principles and Challenges, Canadian Journal of Rehabilitation Journal.

James W.Carey. (1992). Communication as Culture: Essays on Media and Society, Psychology Press. USA.

Kasap, F. & Gürçınar, P. (2017). Social Exclusion of Life in the Written Media of the Disabilities: The Importance of Media Literacy and Education. Springer Link Journal. 52, 557-571.

Marilyn Dahl.(1993). The Role of the Media in Promoting Images of Disability- Disability as Metaphor: The Evil Crip, Canadian Communications Disputes. 18(1). Retrieved March 13, 2021, from DOI: doi.org/10.22230/cjc.1993v18n1a718

Nguyen,M.S Phoung. (2017). Social media engagement in the Disability community. Indiana Disability Rights and Brain Lamb School of Communication at Purdue University. United State.

Sofia Ranchordas. (2017). Digital agoras: democratic legitimacy, online participation and the case of Uber-petitions The Theory and Practice of Legislation,Taylor & Francis Group. 5(1). Retrieved July 5, 2021, from doi 10.1080/20508840.2017.1279431.

Stetten E.N (2019).Analyzing the Communication Interchange of Individuals with Disabilities Utilizing Face book, Discussion Forum and Chat Rooms:Qualitative Content Analysis of Online Disabilities Support Group.JMIR Publication, 6(2). Retrieved July 5, 2021, from doi 10.2196/12667.

Tanja, I. M.; Brakel, W. V.; & Schreurs, M. (2014). Children with Disability in Nepal: New Hope Through CBR?.Disability, CBR and Inclusive Development Journal, 25(1). Retrieved April 18, 2021, from doi 10.5463/DCID.v25i1.299.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-28