การสร้างสรรค์สื่อประชาสัมพันธ์ของกลุ่มผ้าทอไทลื้อลวงใต้ อำเภอดอยสะเก็ดจังหวัดเชียงใหม่ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมจากชุมชน
คำสำคัญ:
การสร้างสรรค์สื่อ, สื่อประชาสัมพันธ์, ผ้าทอไทลื้อลวงใต้, การมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการในการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ และสร้างสรรค์สื่อประชาสัมพันธ์ของกลุ่มผ้าทอไทลื้อลวงใต้ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมจากชุมชน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) มุ่งเน้นการวิจัยแบบมีส่วนร่วม เก็บข้อมูลโดยการลงพื้นที่ชุมชนการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตและการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยมีพื้นที่เป้าหมายคือ กลุ่มผ้าทอไทลื้อลวงใต้ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มผ้าทอไทลื้อลวงใต้ยังขาดสื่อประชาสัมพันธ์สินค้าและผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม สมาชิกไม่มีทักษะในการสร้างสรรค์สื่อเพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์สินค้า ในส่วนของการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์นั้นทางผู้วิจัยและชุมชนได้ผลิตสื่อร่วมกันจำนวน 3 ประเภทคือ 1) สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ แผ่นพับและโปรชัวร์ 2) สื่อวิดิทัศน์ 3) เพจเฟซบุ๊ก ชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ดังนี้ 1) การกำหนดประเด็นเนื้อหาสื่อ 2) การมีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตสื่อ 3) การมีส่วนร่วมในการประเมินผลสื่อ ด้านระดับการมีส่วนร่วมพบว่าสมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมใน 3 ระดับ คือ 1) ระดับผู้ใช้สาร 2) ระดับผู้ผลิต และ 3) ระดับผู้กำหนดนโยบาย
References
วิจัย.
กาญจนา แก้วเทพ. (2548). ก้าวต่อไปของการสื่อสารเพื่อการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุน
สนับสนุนการวิจัย.
กำจร หลุยยะพงศ์. (2560). แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม ในความรู้และทักษะการสื่อสารชุมชน (น 3-1 -3-60). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
บุษบา หินเธาว์ อรวรรณ ไพโรจน์วุฒิพงศ์และวชิราภรณ์ แก้วจันทร์ฉาย. (2563, มกราคม-เมษายน). การมีส่วนร่วม
ของชุมชนในการพัฒนาสื่อเพจเฟซบุ๊กเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนบ้านนาเมือง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก.วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 10(1) : 66 – 82.
ปาริชาติ สถาปิตานนท์. (2549). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน : จากแนวคิดสู่ปฏิบัติการวิจัย
ในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
นิษฐา หรุ่นเกษมและปรียา สมพืช. (2561, มกราคม - มิถุนายน). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาสื่อเพื่อ
สนับสนุนการท่องเที่ยวชุมชน. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 13(1) :173 – 191.
วุฒิพงษ์ ฉั่วตระกูล พิญญ์ ตนานนท์และกอบกาญจน์ พจน์ชนะชัย. (2556, กันยายน – ธันวาคม).การพัฒนากลยุทธ์
ส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์ผ้าทอของกลุ่มหัตกรรมผ้าทอไทลื้อ บ้านลวงใต้ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(3) : 171-182.
อารีรัตน์ ฟักเย็น อัจฉรา หาดี เพ็ญนภา คำจ๊ะ อาภาวรรณ ชัยริยไพศาลและอารยา ร้อยอำแพง. (2561). การพัฒนา
รูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์การทอ่งเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ชุมชนสนามจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 10 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 29-30 มีนาคม 2561. หน้า 1302-1311. นครปฐม : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
แหล่งข้อมูลสัมภาษณ์
พรรณี สมโพธิ์ ,ประธานกลุ่มผ้าทอไทลื้อลวงใต้. สัมภาษณ์ วันที่ 25 มกราคม 2563.
รวิชา บุญธิมา ,เลขานุการกลุ่มผ้าทอไทลื้อลวงใต้. สัมภาษณ์ วันที่ 25 มกราคม 2563.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ