การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายแฟชั่นสุภาพบุรุษจากทุนวัฒนธรรมสิ่งทอพื้นถิ่นไทลื้อ

ผู้แต่ง

  • พัดชา อุทิศวรรณกุล หน่วยปฏิบัติการวิจัยแฟชั่นและนฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

สิ่งทอ, ทุนวัฒนธรรม, ตราสินค้า

บทคัดย่อ

จังหวัดน่านเป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคเหนือของประเทศไทยซึ่งถือเป็นเมืองต้องห้ามพลาดเนื่องจากเป็นจังหวัดที่อุดมสมบูรณ์ทั้งด้านธรรมชาติและด้านวัฒนธรรมรวมทั้งกระแสนิยมที่กำลังให้ความสนใจกับจังหวัดน่านทำให้เกิดการพัฒนาขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวที่มีแนวคิดการเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม  ขณะเดียวกันสิ่งทอจังหวัดน่านก็เป็นที่น่าสนใจเนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีหลากหลายชาติพันธุ์และวัฒนธรรม จึงเกิดการสืบสานวัฒนธรรมอย่างหลากหลาย แต่ทั้งนี้จากการสำรวจพบว่าผู้ประกอบการเกี่ยวกับสิ่งทอในจังหวัดน่านยังขาดแนวทางการพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับท้องถิ่นที่สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนด้วยการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

            บทความนี้เป็นบทความวิจัยซึ่งนำเสนอเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาตราสินค้าให้กับร้านมีสเอ โปรดักส์ อำเภอปัว จังหวัดน่าน ซึ่งมีการสืบทอดวัฒนธรรมไทลื้อมาอย่างอย่างนาน รวมทั้งมีการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการผสมผสานทุนวัฒนธรรมไทลื้อ แต่ต้องการความแปลกใหม่ด้านผลิตภัณฑ์จึงเกิดแนวคิดการพัฒนาสำหรับเครื่องแต่งกายแฟชั่นสุภาพบุรุษเพื่อให้ตอบสนองต่อกลุ่มนักท่องเที่ยวหลักในปัจจุบัน โดยบทความวิจัยนี้นำเสนอเกี่ยวกับการศึกษาข้อมูลและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายรวมทั้งกลุ่มผู้ประกอบการ การศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดการออกแบบ การศึกษาและวิเคราะห์ช่องว่างทางการตลาด รวมทั้งนำเสนอแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายแฟชั่นสุภาพบุรุษและจัดตั้งกลุ่มคลัสเตอร์เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ให้กับชุมชนในพื้นที่ อำเภอปัว จังหวัดน่าน

References

ชนิดา ตั้งถาวรศิริกุล. (2541). สื่อสัญลักษณ์ผ้าลาวเวียงจันทน์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุน การวิจัยมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล. (2551). มรดกวัฒนธรรมผ้าทอไทลื้อ. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่: ภาควิชาภาษาไทย คณะ มนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พัดชา อุทิศวรรณกุล. (2562). นวัตกรรมสิ่งทอผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์ 1, 11-17.

รัชนีย์ ศรีวัฒนชัย. (2559). จุดเปลี่ยนธุรกิจแฟชั่นไทย เลิกคลั่งแบรนด์เนมซื้อไลฟ์สไตล์. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2564, จากhttps://www.posttoday.com/economy/news/435559

รุจยา อาภากร(ม.ร.ว.) และคณะ. ไทลื้อ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท มติชน(มหาชน) จำกัด , ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์.

ศรีสุดา โวทาน. ผู้ประกอบการร้านมีสเอ โปรดักส์. สัมภาษณ์, 14 มกราคม 2564.

สุทธิพันธุ์ เหรา. (2556). การสื่อความหมายมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าทอ ชาวไทลื้อ อำเภอปัว จังหวัดน่าน ผ่านศิลปะการแสดง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม. เชียงใหม่: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Chaipohn. (2558). Streetwear แฟชั่นที่เริ่มจาก Sub-Cultures สู่ Mainstream. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2564, จากhttps://www.unlockmen.com/men-do-dont-for-better-skin

Chief Oversea Co., Ltd. – Thailand. (2560). นิสัยของคน 8 Gen…มาดูกัน. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2564, จากhttps:// www.facebook.com/ChiefOversea/posts/1037969772931477/

Mover. (2559). 6 ทรงกระเป๋า เสริมลุคสูดคูลพกของสะดวก. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2564, จากhttps://mover.in.th/m-article/6-everyday-bag/

Mover. (2559). เสริมลุคให้ดูดีด้วย “หมวก” ทรงที่ใช่กับสไตล์ของคุณ. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2564, จากhttps://mover. in.th/m-article/how-to-choose-the-right-hat/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29