การพัฒนาภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ ด้วยเทคโนโลยีตรวจจับการเคลื่อนไหว สำหรับฝึกท่ามวยไทยพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • เบญนภา พัฒนาพิภัทร คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

เทคโนโลยีตรวจจับการเคลื่อนไหว, แอนิเมชัน 3 มิติ, มวยไทย

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันเกม และแอนิเมชัน 3 มิติ กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก ทั้งในแง่การส่งเสริมความบันเทิง งานโฆษณา งานด้านการศึกษา เป็นต้น ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีที่มามีส่วนช่วยส่งเสริมให้งานด้านภาพ 3 มิติ มีความสมจริง สวยงาม และลดระยะเวลา รวมถึงต้นทุนในการผลิตมากขึ้น เช่น เทคโนโลยีตรวจจับการเคลื่อนไหว (Motion Capture) ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้ในการตรวจจับการเคลื่อนไหวของนักแสดง และแปรค่าการเคลื่อนไหวของนักแสดงเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ทำให้ตัวละคร 3 มิติที่สร้างขึ้น สามารถแสดงท่าทางได้อย่างสมจริง สวยงาม เทคโนโลยีจึงถูกมาใช้ในการสร้างภาพเคลื่อนไหว 3 มิติมากขึ้น

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดฝึกท่ามวยไทยขั้นพื้นฐานด้วยการใช้เทคโนโลยีตรวจจับการเคลื่อนไหว (Motion Capture) ซึ่งเป็นศิลปะการต่อสู้ยอดนิยมของประเทศไทย และปัจจุบันบุคคลทั่วไปก็หันมาออกกำลังกายด้วยการฝึกมวยไทยกันมากขึ้น เพื่อให้ผู้ที่สนใจในกีฬามวยไทย หรือผู้ที่สนใจการออกกำลังกายด้วยมวยไทย สามารถฝึกฝนท่ามวยไทยได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ ด้วยการใช้เทคโนโลยีตรวจจับการเคลื่อนไหว (Motion Capture) ยังสามารถนำไปพัฒนาให้เป็นเกมการต่อสู้โดยใช้มวยไทยได้อีกด้วย

            ผลการวิจัยพบว่า คะแนนการฝึกท่ามวยไทยพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่างสามารถปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 21.86 คะแนน เต็ม 24 คะแนน และเมื่อพิจารณาเป็นรายทักษะพบว่า คะแนนเฉลี่ยของชุดท่าเตะ มีคะแนนมากที่สุด และชุดท่าถีบมีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุดเนื่องจากเป็นท่าที่มีความซับซ้อน และต้องฝึกฝนเป็นประจำ

References

ดัชกรณ์ ตันเจริญ. (2554). เทคโนโลยีในการตรวจจับการเคลื่อนไหวและการประยุกต์ใช้งาน. วารสารปัญญาภิวัฒน์. (ม.ป.ป.), 114-116.

นนทวรรษ ธงสิบสอง. (2555). การออกแบบและพัฒนาเครื่องโมชั่นแคปเจอร์อย่างง่ายเพื่อประยุกต์ใช้ในงาน 3 มิติ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์อาร์ต คณะดิจิทัลอาร์ต มหาวิทยาลัยรังสิต.

นันท์ภัส สุจิมา. (2551). คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ในงานภาพยนต์โดยเทคนิค Motion Capture. วารสาร FEU ACADEMIC REVIEW: 41-44.

ยุวดี นิรัตน์ตระกูล. (2556). มวยไทย KEEP FIGHTING. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2560 จาก http://www.etatjournal.com/web/menu-read-web-etatjournal/menu-2013/menu-2013-oct-dec/553-42556-muay-thai

วิรัช ศรเลิศล้ำวาณิช และคณะ. (2553). เทคโนโลยี ระบบการแปลงข้อมูลดิจิทัล Motion Capture. Digitized Thailand. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ.

วีระยุทธ ประชุมชน. (2552). การพัฒนานโยบายอุสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์และโมชันแคปเจอร์ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สารานุกรมไทย. (2559). หลักพื้นฐานในการฝึกทักษะแม่ไม้มวยไทย. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2560, จาก http://saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=35&chap=3&page=t35-3-infodetail04.html

อากาศ ใหญ่โคกกรวด. (2553). การสร้างภาพเคลื่อนไหวเสมือนจริง 3 มิติ สำหรับการฟ้อนเล็บ โดยใช้อุปกรณ์จับภาพเคลื่อนไหว. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อรุณี ชัยพิชิต. (2555). คอมพิวเตอร์กราฟิกสามมิติและงานแอนิเมชั่น. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2560, จาก https://classroomkrunee.wordpress.com/2012/10/23/คอมพิวเตอร์กราฟิก/

Coco, Donna. (1997). Motion capture advances. Computer Graphics World. Novembe, 37-42.

เจริญทอง เกียรบ้านช่อง. (2559). มวยไทยกับการเตะ. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2561, จาก https://www.

jaroenthongmuaythairatchada.com/blog/read/102

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29