การออกแบบและพัฒนาเครื่องประดับแหวนมงคลตามหลักเลขศาสตร์ไทย
คำสำคัญ:
การออกแบบ, พัฒนา, เครื่องประดับ, แหวนมงคล, เลขศาสตร์ไทยบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องประดับแหวนมงคลตามหลักเลขศาสตร์ไทย และเพื่อออกแบบแผนธุรกิจเครื่องประดับมงคลตามหลักเลขศาสตร์ไทย ภายใต้ทิศทางการตลาดความเชื่อที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ด้วยการออกแบบเครื่องประดับจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ (CAD) และการวิเคราะห์แผนธุรกิจแบบ Business model canvas โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ 3 ด้าน คือ ด้านเลขศาสตร์ไทย ด้านผู้ประกอบการเครื่องประดับ และผู้บริโภคหญิง นำมาพัฒนาต้นแบบและจัดทำแผนธุรกิจ จากผลวิจัยพบว่า เครื่องประดับแหวนมงคลตามหลักเลขศาสตร์ไทยได้รับความนิยม ถึงร้อยละ 90.47 ผู้วิจัยได้พัฒนาต้นแบบแหวนมงคลโดยผ่านการประเมินจากผู้บริโภค พบว่าแหวนได้รับความนิยมสูงสุดแต่ละด้าน ดังนี้ ด้านความสำเร็จแหวนมงคลแบบที่ 3 (พลังเลข 9) ด้านการงาน แหวนมงคลแบบที่ 3 (พลังเลข 14) ด้านการเงินแหวนมงคลแบบที่ 3 (พลังเลข 56) และด้านความรักเป็นแหวนมงคลแบบที่2 (พลังเลข 36) พบว่าทางด้านราคาแหวนทองคำ 9K ราคาเฉลี่ยควรอยู่ระหว่าง 11,100 – 18,000 บาท และแหวนเงิน ราคาเฉลี่ยควรอยู่ระหว่าง 1,490 – 1,890 บาท พบว่ากลุ่มเป้าหมายของผู้บริโภคของตลาดคือกลุ่มอายุ 29-40 ปี โดยทำการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ และกลุ่มอายุ 46-50 ปี โดยทำการตลาดผ่านการขายแบบสั่งผลิตตามความต้องการ พบว่ากลยุทธ์ที่ใช้ในการกำหนดธุรกิจด้านเครื่องประดับแหวนมงคล คือ กลยุทธ์การตลาดทางธุรกิจ กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์หรือด้านสินค้าที่ยอดเยี่ยม และกลยุทธ์ด้านราคาหรือด้านราคาที่เหมาะสม ตามลำดับ
References
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2535). ศิลปินแห่งชาติ. ประยูร อุลุชาฏะ. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://art2.culture.go.th/index.php?case=artistDetail&art_id=35&pic_id=&side=ach_prt
ทรงพล อานุภาพ, และ วิลัดดา เตชะเวช. (2558). กลยุทธ์การตลาดบริการสำหรับผู้ค้าปลีกอัญมณีและเครื่องประดับขนาดกลางและขนาดย่อมในกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 11(2).
ธเนศ ศิริกิจ. (2559). การตลาด 8P's กับธุรกิจ SMEs ที่ต้องรู้....ในปัจจุบัน. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://positioningmag.com/1089947
นิธี ศิริพัฒน์. (2553). สัญลักษณวิทยา. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://www.siripat.com/Extension-of-Special-Annual-Articles-2010.asp
ปราณเวท. (2554). เคล็ดลับการใช้เลขศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://www.horapayakorn.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539691268&Ntype=1
วรรณรัตน์ ตั้งเจริญ. (2544). เครื่องประดับ. สารานุกรมศึกษาศาสตร์ (Encylopedia of Education), 10, 99-102.
วรรณรัตน์ ตั้งเจริญ. (2554). การบูรณาการโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิคส์สำหรับการออกแบบเครื่องประดับและกระบวนการผลิต.
วัฒนะ จูฑะวิภาต. (2545). การออกแบบเครื่องประดับ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์กรมหาชน). (2558, ตุลาคม). เจาะพฤติกรรมการเลื่อกซื้ออัญมณีและเครื่องประดับของผู้บริโภคหลากเจนเนอเรชั่น.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร. (2563). สินค้าส่งออกของไทยตามโครงสร้างสินค้าส่งออกโลก. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://tradereport.moc.go.th/TradeThai.aspx
สมชาย สำเนียงงาม. (2545). ลักษณะภาษาที่แสดงความเปลี่ยนแปลงของความเชื่อเกี่ยวกับสิริมงคลและกาลกิณีในชื่อของคนไทย. (ปริญญาอักษรศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
สุภชัย ปกป้อง. (2563). คนไทยกับตลาดความเชื่อ. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.kaohoon.com/content/313152
เสาวณี จันทะพงษ์, และ ทศพล ต้องทุ้ย. (2563). เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทยหลังโควิด 19. BOT พระสยาม MAGAZINE, 3, 4-7.
อาจารย์พลูหลวง. (2516). พื้นฐานของโหราศาสตร์ (ความมหัศจรรย์ของตัวเลข). กรุงเทพฯ: เกษมบรรณกิจ.
Frick, J., และ Ali, M. M. (2013). Business model canvas as tool for SME. IFIP international conference on advances in production management systems, 142-149.
The Bangkok Insight Editorial Team. (2563). ย้อนสถิติราคาทองคำ 10 ปีที่ผ่านมา ก่อนพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.thebangkokinsight.com/414790/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ