การสร้างสรรค์อัตลักษณ์การออกแบบเครื่องแต่งกายแฟชั่นชั้นสูง สำหรับประเทศคูเวต

ผู้แต่ง

  • ศมิสสร สุทธิสังข์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พัดชา อุทิศวรรณกุล คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์, เสื้อผ้าแฟชั่นชั้นสูง, ตลาดตะวันออกกลาง, ประเทศคูเวต

บทคัดย่อ

เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกที่ถดถอยส่งผลให้อุตสาหกรรมแฟชั่นได้รับผลกระทบ แต่ในทางตรงกันข้ามประเทศตะวันออกกลางกลับได้รับผลกระทบน้อยมาก รวมทั้งตราสินค้าชั้นนำของโลกก็ให้ความสนใจกับตลาดตะวันออกกลางทำให้ชาวตะวันออกกลางถูกให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก จึงเป็นโอกาสหากผู้ประกอบการส่งออกแฟชั่นในไทยจะเข้าไปมีบทบาทในตลาดนี้ ขณะเดียวกันประเทศคูเวตซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มประเทศตะวันออกกลางก็ได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่น่าลงทุนทั้งทางด้านเศรษฐกิจรวมทั้งการให้อิสระเสรีกับสุภาพสตรีมากกว่ากลุ่มประเทศอื่น ๆ ทำให้บทบาทของสตรีคูเวตเปลี่ยนไปจนได้รับขนานนามว่าเป็นผู้หญิงที่มีความทันสมัยและมีความเป็นแฟชั่นสูง

            บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัย เรื่อง “การสร้างสรรค์อัตลักษณ์การออกแบบเครื่องแต่งกายแฟชั่นชั้นสูง สำหรับประเทศคูเวต” โดยนำเสนอเกี่ยวกับการศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายสตรีคูเวต รวมทั้งการศึกษารูปแบบเสื้อผ้าแฟชั่นชั้นสูงเพื่อวิเคราะห์ให้เกิดตราสินค้าใหม่ และการประยุกต์ใช้แนวโน้มกระแสแฟชั่นเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ตราสินค้าและออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบในการสร้างสรรค์เสื้อผ้าแฟชั่นชั้นสูง (Haute couture) ในรูปแบบอาวองการ์ดแบบศิลปะเค้าโครง ให้เหมาะสมสำหรับสตรีคูเวต เพื่อศึกษาตลาดเสื้อผ้าแฟชั่นชั้นสูง (Haute couture) และหาความเป็นไปได้ในการสร้างสรรค์ตราสินค้า และเพื่อศึกษากลุ่มเป้าหมายหลักในตลาดที่มีความต้องการสินค้าเครื่องแต่งกายแฟชั่นชั้นสูง ซึ่งมีวิธีการดำเนินการวิจัยจากการศึกษาและวิเคราะห์วรรณกรรม รวมทั้งการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ได้ข้อมูลในการสร้างสรรค์ตราสินค้าให้ตรงต่อการต้องการตลาดและกลุ่มเป้าหมาย

References

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย. (2558). เกร็ดน่ารู้ตลาดเสื้อผ้าแฟชั่นมุสลิมโลก. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2563, จาก http://www.thealami.com/main/content.php?page=&category=2&id=1735

พัดชา อุทิศวรรณกุล. (2527). การจัดการสินค้าแฟชั่น. กรุงเทพฯ: คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา. (2561). เจาะตลาดผู้บริโภคชาวมุสลิม...กรณีตัวอย่างจากประเทศญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2563,

จาก https://www.exim.go.th/getattachment/KnowWorld/

ภาสกร เจยาคม. (2557). ความงามทางโครงสร้างสู่งานเครื่องประดับร่วมสมัย. ศิลปะนิพนธ์ปริญญาบัณฑิต สาขาการออกแบบเครื่องประดับ. กรุงเทพฯ: คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วีรินทร์ สันติวรรักษ์. (2563). นวัตกรรมสิ่งทอโลหะรีไซเคิลสู่การสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายสตรีรูปแบบอาวองการ์ด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานฤมิตศิลป์. กรุงเทพฯ: คณะศิลปกรรมศสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิลปวัฒนธรรม. (2563). “มัดหมี่” เทคนิคการสร้างลายผ้าที่มีต้นแบบมาจากอินเดีย. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2563, จาก

https://www.silpa-mag.com/history/article_47717

สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์. (2562). ส่ง “ผ้าไทย” เชื่อมวัฒนธรรมไทย-อาหรับ รุกตลาดแฟชั่นตะวันออกกลาง. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2563, จาก https://mgronline.com/qol/detail/9620000032261

สำนักข่าวไทย. (2555). มศว.หนุนผู้ประกอบการไทยพัฒนาแฟชั่นมุสลิมบุกตลาดใหม่ตะวันออกกลาง. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2563, จาก https://news.swu.ac.th/newsclips/doc/201213385.pdf

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2559). คลังความรู้. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2563, จาก http://www.royin.go.th/?knowledges-category=i-love-thai-languages&paged=16

อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์. (2562). สถานการณ์ประชากรโลกในอีก 30 ปี ข้างหน้า : โอกาสหรือวิกฤติ. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2563, จาก https://mgronline.com/daily/detail/9620000107478

อรรถพนธ์ พงษ์เลาหพันธุ์. (2563). การคาดการณ์แนวโน้มแฟชั่นและการออกแบบแฟชั่นในศตวรรษที่ 21. ศิลปกรรมสาร. วารสารคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 13(1), 131-144.

Economic Intelligence Center. (2562). ตลาดเสื้อผ้ามุสลิมในอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2563, จาก http://glob

thailand.com/

Game Environment Art (2561). Constructivist Architecture. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2563, จาก https://www.worldofleveldesign.com/categories/architecture/constructivist_architecture/constructivist_architecture.php

Papassara Nutsatabhorn. (2562). เจาะลึกทุกเรื่องเกี่ยวกับ แฟชั่นโอต์ กูตูร์ ใครบ้างที่เรียกผลงานตนว่าโอต์ กูตูร์ได้. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2563, จาก https://www.vogue.co.th/fashion/article/couturefeatures

Vintage Dancer (2561). Victorian Fashion – 1840s to 1890s. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2563, จาก https://vintagedancer.com/victorian/victorian-fashion-hisory/

WGSN. (2564). Conscious Clarity. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2564, จาก http://www.wgsn/concept/consciousclarity

WGSN. (2564). Phantasmagoria. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2564, จาก http://www.wgsn/concept/phantasmagoria

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29