กระบวนการเรียนรู้เพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมสื่อเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของสังคม
คำสำคัญ:
การพัฒนานวัตกรรมสื่อ, ประเด็นทางสังคม, ภาพยนตร์สั้นบทคัดย่อ
กระบวนการเรียนรู้เพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมสื่อประเด็นทางสังคมของกลุ่มเยาวชน (Media Lab) เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้กระบวนการ Movie based learning เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารประเด็นทางสังคมด้วยการผลิตภาพยนตร์สั้นอย่างเป็นขั้นตอน ผ่านห้องปฏิบัติการทางสังคมโดยมีผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ และกลุ่มเป้าหมายในโครงการ เข้าร่วมทดลองผลิตภาพยนตร์สั้นที่เรียกว่า Master Lab ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงอย่างมีส่วนร่วม หลังจากนั้นกลุ่มเป้าหมายจึงได้ลงมือผลิตภาพยนตร์สั้นประเด็นทางสังคมด้วยตนเอง และเผยแพร่สู่ชุมชนและสังคมวงกว้าง ผ่านกิจกรรม Road show และเทศกาลหนังสั้นเชียงใหม่ Media Lab Film Festival สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลงานวิจัยในแต่ละขั้นตอน ได้แก่ การระดมสมอง (Brain Storming) การสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participation Observation) โดยนำเครื่องมือดังกล่าวมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูลในกระบวนการ Issue based กระบวนการ Area based และกระบวนการ Movie based ผลการวิจัยพบว่าประเด็นทางสังคมที่กลุ่มเป้าหมาย เห็นว่าเกิดขึ้นใกล้ตัวและเป็นเรื่องที่สังคมควรให้ความสำคัญและใส่ใจในการร่วมกันป้องกันและแก้ไข มากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่
อันดับที่ 1 ประเด็นความเหลื่อมล้ำ คุณภาพชีวิตคนในเมือง ปัญหาระบบขนส่งมวลชน/นโยบายรัฐ (สาธารณูปโภค) การจัดการคุณภาพชีวิตของสัตว์จรจัด และแรงงานถูกเอาเปรียบ
อันดับที่ 2 ประเด็นการละเมิดสิทธิบนท้องถนน วินัยการจอดรถ และการละเมิดสิทธิโดยเจ้าหน้าที่รัฐด้วยการตั้งด่านตรวจรถ
อันดับที่ 3 ประเด็นคุณค่าความเท่าเทียมในผู้พิการ ผู้สูงอายุ เด็กและเยาวชน ความแตกต่างบนความหลากหลายในการอยู่ร่วมกันในสังคม
อันดับที่ 4 ประเด็นการรู้เท่าทันสื่อ การเลียนแบบการใช้ภาษา การเสพติดสื่อ
อันดับที่ 5 ประเด็นวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงและรักษาสุขภาวะของคนในเมือง พืชเกษตร อาหารปลอดภัยและสวัสดิการการรักษาพยาบาล
โดยกลุ่มเป้าหมายได้นำเอาประเด็นปัญหาทางสังคมที่ค้นพบจากกระบวนการดังกล่าว มาสร้างสรรค์เป็นภาพยนตร์สั้นเล่าเรื่องประเด็นปัญหาทางสังคม ด้วยกระบวนการ Movie Based learning โดยกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านกระบวนการพัฒนา ในทุกขั้นตอน จะกลายเป็นนวัตกรที่สามารถแลกเปลี่ยนแนวความคิดในการผลิตภาพยนตร์ในมิติที่หลากหลาย ทั้งจากวิทยากร เครือข่ายประเด็นทางสังคม และนักศึกษาสถาบันอื่นที่เข้าร่วมโครงการ จนสามารถผลิตภาพยนตร์สั้นของตนเองเพื่อสื่อสารประเด็นทางสังคมได้อย่างแนบเนียน หากมีการต่อยอดการพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง จะเป็นการเพิ่มศักยภาพในการผลิตภาพยนตร์สั้นให้แก่เยาวชน จนพัฒนาเป็นนวัตกรที่สามารถสื่อสารประเด็นทางสังคมผ่านสื่อภาพยนตร์ยิ่งขึ้น
References
กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2555). กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2564, จากhttps://www.thairath.co.th/content/270870
เขมพัทธ์ พัชรวิชญ์.(2559).ภาพยนตร์ไทยนอกกระแสกับภาพสะท้อนปัญหาสังคมไทย.วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์. 21(2), 13.
ชุติสันต์ เกิดวิบูลย์.(2558).นวัตกรรมสื่อดิจิทัลใหม่สำหรับนิเทศศาสตร์.วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า. 2 (2), 64.
ดิสนีย์ อิทธิหิรัญวงศ์. (2553). การรับรู้ ทัศนคติ และความตระหนักเรื่องปัญหาสังคมของผู้ชมภาพยนตร์เพื่อสังคม. วิทยานิพนธ์ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม . (2546). ทัศนคติเกี่ยวกับการสร้างภาพยนตร์ไทยของผู้ชมภาพยนตร์ในเขตกรุงเทพมหานคร : รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ งานส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร. (2549). การจัดการนวัตกรรมสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ.
อภิชัจ พุกสวัสดิ์ และภาณุฤทธิ์ สารสมบัติ.(2563).การพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของนักเรียน 30 โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดสมุทรปราการในการจัดกิจกรรมในสถานศึกษา.วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา.13(2), 21.
อุษา ศิลป์เรืองวิไล. (2561). นวัตกรรมการผลิตรายการโทรทัศน์ในยุคดิจิทัล. EAU HERITAGE JOURNAL Social Science and Humanity. 8(9), 87.
Freedman, D. (2002). A 'Technological Idiot'? Raymond Williams and Communications Technology, Information, Communication & Society, 5:3, 425-442.
Weber, Linda R. (1995). The analysis of social problems. Needham, MA: A Simon & Schuster.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ