การออกแบบเครื่องประดับในเชิงพาณิชย์ จากวัสดุทองเหลืองที่ได้จากการประยุกต์ใช้เครื่องทอโลหะ
คำสำคัญ:
ทอโลหะ , เสื่อจันทบูร , เครื่องประดับ, เชิงพาณิชย์บทคัดย่อ
การออกแบบเครื่องประดับในเชิงพาณิชย์ จากวัสดุทองเหลืองที่ได้จากการประยุกต์ใช้เครื่องทอโลหะ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางในการออกแบบเครื่องประดับในเชิงพาณิชย์ จากวัสดุทองเหลืองที่ได้จากการประยุกต์ใช้เครื่องทอโลหะ 2) เพื่อออกแบบและผลิตต้นแบบเครื่องประดับในเชิงพาณิชย์ จากวัสดุทองเหลืองที่ได้จากการประยุกต์ใช้เครื่องทอโลหะ มีการดำเนินงานจากวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ใช้แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและผลิตงานเครื่องประดับ โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากประสบการณ์ความเชี่ยวชาญ ไม่ต่ำกว่า 10 ปี จำนวน 3 คน นำข้อมูลจากการสัมภาษณ์ไปวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ร่วมกับข้อมูลทางเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ได้เป็นแนวทางในการออกแบบตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 มีการออกแบบร่างเครื่องประดับจำนวน 3 ชุด ชุดละ 3 ชิ้น ใช้เครื่องมือแบบประเมินความพึงพอใจการออกแบบเครื่องประดับ โดยเก็บข้อมูลผู้บริโภคกลุ่มสตรีวัยทํางาน จากร้านจำหน่ายของฝากของที่ระลึกและร้านค้าเครื่องประดับในจังหวัดจันทบุรี จำนวน 400 คน ใช้ทฤษฎีมาตรวัดของลิเคิร์ท (Likert Scale) แสดงความเห็นจากระดับความพึงพอใจ 5 ระดับ และนำค่าที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย (X Bar) แปลผลความพึงพอใจ คัดเลือกแบบร่างที่มีผลการประเมินสูงที่สุด ผลิตเป็นงานต้นแบบเครื่องประดับ
ผลการวิจัย พบว่า แนวทางในการออกแบบเครื่องประดับในเชิงพาณิชย์ จากวัสดุทองเหลืองที่ได้จากการประยุกต์ใช้เครื่องทอโลหะ ควรเพิ่มเทคนิคการทอให้มีความหลากหลาย เช่น การสลับขนาดของเส้นโลหะ การรีดเส้นโลหะให้เป็นเส้นแบน เป็นต้น ในการออกแบบเครื่องประดับเพื่อให้สอดคล้องกับเครื่องประดับเชิงพาณิชย์ควรเป็นเครื่องประดับที่ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน เรียบง่าย ซึ่งได้นำแนวคิดการออกแบบจากรูปทรงเรขาคณิตที่ไม่ซับซ้อน ง่ายต่อการผลิต ประเภทของเครื่องประดับ คือ ต่างหู จี้ และสร้อยข้อมือ ผลการประเมินความพึงพอใจสูงสุด คือ แบบร่างชุดที่ 1 มีค่าคะแนน 4.26 ระดับพึงพอใจมาก นำแบบไปใช้ในการผลิตงานต้นแบบเครื่องประดับ 1 ชุด จำนวน 3 ชิ้น มีการผสมผสานระหว่างงานหัตถกรรมการทอโลหะ ร่วมกับงานอุตสาหกรรมในการผลิตตัวเรือนประกอบ สามารถลดเวลาการผลิต ลดต้นทุนในการผลิตครั้งละมาก ๆ ได้ จากการคิดต้นทุนโดยคิดจากยอดการสั่งผลิต 100 ชุด ได้เป็นผลกำไรจากราคาขายที่ตั้งไว้ 50 เปอร์เซ็นต์โดยประมาณ
References
กรกฎ แพทย์หลักฟ้า. (2565). กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม
: กรณีศึกษาชุมชนริมน้าจันทบูร.วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 8(2), 7-18.
กระทรวง การท่องเที่ยวและกีฬา, (2565). สถิตินักท่องเที่ยวจังหวัดจันทบุรี. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2565, จาก
https://chanthaburi.mots.go.th/ewtadmin/ewt/chanthaburi/graph_views.php?graph_id=40.
กรุงเทพธุรกิจ. (2564). เสื่อผืนงามแห่งจันทบูร. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2564, จาก
https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/730716
ธนกฤต ใจสุดา. (2562). เครื่องประดับอัตลักษณ์จันทบุรี : การศึกษาอัตลักษณ์เพื่อพัฒนารูปแบบเครื่องประดับในเชิงพาณิชย์. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 7(1), 178 -193.
ภัทรา ชื่นชมลดา. (2543). ลักษณะและพฤติกรรมการใช้สินค้าของผู้บริโภคสตรีในเขตกรุงเทพมหานคร.
วิทยานิพนธ์ปริญญานิทศศาสตรมหาบัณฑิต (การโฆษณา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัฒนะ จูฑะวิภาค. (2545). การออกแบบเครื่องประดับ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศันสนีย์ อาจนาฝาย และคณะฯ. (2564). การพัฒนาเครื่องทอโลหะ จากการประยุกต์กระบวนการผลิตงานหัตถกรรมการทอเสื่อจันทบูร หมู่บ้านเสม็ดงาม จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 16(2), 91-105.
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ องค์การมหาชน. (2565). ถอดรหัสเทรนด์อัญมณีและ
เครื่องประดับโลกแห่งปี 2022. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2565, จากhttps://elibrary.git.or.th/news/detail/56
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ. (2564). ความหมายของเครื่องประดับ. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2564, จาก
https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=34&chap=4&page=t34-4-infodetail01.html.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ