การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากการเปิดรับข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารในภาวะวิกฤต COVID-19 จากหน่วยงานภาครัฐไทยของประชาชน

ผู้แต่ง

  • กฤชณัท แสนทวี วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ, การสื่อสารภาวะวิกฤต, โควิด-19

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจในการดำเนินงานเกี่ยวกับการสื่อสารในสถานการณ์ Covid-19 ของภาครัฐไทย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามปลายปิด จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนจากประชาชนไทยใน 4 ภูมิภาค และกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจในการดำเนินงานเกี่ยวกับการสื่อสารในสถานการณ์ Covid-19 ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.10, S.D. = 0.84) ส่วนการใช้ประโยชน์จากการนำเสนอข้อมูลข่าวสารในสถานการณ์ Covid-19 ของภาครัฐ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.24, S.D. = 0.80) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณการใช้ประโยชน์การดำเนินงานเกี่ยวกับการสื่อสารในสถานการณ์ Covid-19 ของภาครัฐไทย ได้แก่ 1) การนำเสนอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Covid-19 โดยภาครัฐสามารถสร้างความเชื่อมั่นและส่งผลให้สังคมไทยสามารถผ่านพ้นสถานการณ์ Covid-19 ได้ในอนาคตอันใกล้ และ 2) มีความรู้เกี่ยวกับโรค Covid-19 จากการเปิดรับข้อมูลข่าวสารที่ภาครัฐนำเสนออย่างถ่องแท้ สามารถร่วมกันพยากรณ์ ความพึงพอใจในการดำเนินงานเกี่ยวกับการสื่อสารในสถานการณ์ Covid-19 ของภาครัฐ ได้ร้อยละ 70 (R Square = 0.70)

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2554). สื่อสารมวลชน: ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.

กรุงเทพธุรกิจ. (2564). “เพื่อไทย” ชี้รัฐสอบตกการสื่อสารในภาวะวิกฤตโควิด. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2564, จาก http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/915781.

ณัฎฐวรรณ คำแสน. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 4(1), 33-48.

ปิยะนันท์ บุญณะโยไทย. (2556). การรับรู้และทัศนคติของผู้บริโภคต่อสื่อกิจกรรมการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พิชามญชุ์ ธีระพันธ์.(2559). การปิดรับสื่อ ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้งานของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อบริการโอนเงินและรับโอนเงินแบบใหม่ “พร้อมเพย์-PromptPay”. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิมพ์ชญา ภมรพล และเจษฎา ศาลาทอง. (2565). การสื่อสารในภาวะวิกฤตและการฟื้นฟูภาพลักษณ์ของสถานีโทรทัศน์เนชั่นทีวี วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 10(1), 109-122.

ภัททิรา กลิ่นเลขา. (2561). ผลกระทบจากการใช้สื่อโซเชียลมีเดียของนักศึกษามหาวิทยาลัยหาดใหญ่จังหวัดสงขลา. เอกสารรายงานการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9, 256-265. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, สงขลา

มนชนก เซ่งเอียง, จันทณี แซ่เอี้ยว, ภสกร มีบุญ, ลันธิญา เปาะอาเดะ และนิจกานต์ หนูอุไร. (2561). พฤติกรรมการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากแอปพลิเคชั่นไลน์ที่ส่งผลต่อการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 3(1), 145-176.

Moreno, A., Fuentes-Lara, C. & Navarro, C. (2020). Covid-19 communication management inSpain: Exploring the effect of information-seeking behavior and message reception in public’s evaluation. El professional de la information, 29(4), 1-16.

Coombs, W. T. (2007). Ongoing Crisis Communication: Planning, Managing, Responding. Sage Publication.

Robert, B., & Lajtha, C. (2002). A New Approach to Crisis Management. Blackwell Publishers, MA.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-28