การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพรจากอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ม้งเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนบ้านห้วยหาน จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
การพัฒนาบรรจุภัณฑ์, ลูกประคบสมุนไพร, อัตลักษณ์ชุมชนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงประยุุกต์ใช้รููปแบบการวิจัยแบบมีส่่วนร่่วม โดยมีวัตถุุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ม้งและวิสาหกิจชุมชนบ้านห้วยหาน ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย 2) ออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพรที่สะท้อนอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ม้งและวิสาหกิจชุมชนบ้านห้วยหาน และ 3) ประเมินความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อประสิทธิภาพของบรรจุภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพร ทำการรวบรวมข้อมูลกับสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านห้วยหาน จำนวน 15 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากนั้นทำการออกแบบบรรจุภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพรและประเมินความพึงพอใจของบรรจุภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นโดยการเก็บแบบสอบถามจากนักท่องเที่ยว จำนวน 100 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ม้งของวิสาหกิจชุมชนบ้านห้วยหานประกอบด้วย วิถีชีวิตการปลูกและแปรรูปสมุนไพร ผ้าปักม้งลายก้นหอยและลายเจดีย์ พระครูบาน้อยศุภณัฐ นาคเสโน ผาขาว – ผาแดง และพระธาตุอโรคยาเจดีย์ 2) การออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์เน้นโครงสร้างที่แข็งแรง สามารถปกป้องผลิตภัณฑ์จากการสัมผัสความชื้นในอากาศ ขนาดพอดีกับและเปิดปิดได้สนิท ด้านการออกแบบกราฟฟิกผู้วิจัยนำเสนอเรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์ม้งบ้านห้วยหานด้วยการนำอัตลักษณ์ชุมชนเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ ใช้เทคนิคหลังการพิมพ์โดยการปั๊มไดคัทบนฝากล่องเป็นรอยปรุเพื่อสามารถประยุกต์การใช้งานเป็นกล่องกระดาษทิชชู่ซึ่งช่วยลดปัญหาขยะและรักษาสิ่งแวดล้อม 3) ผลการประเมินความพึงพอใจประสิทธิภาพของบรรจุภัณฑ์พบว่า นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจในประสิทธิภาพของบรรจุภัณฑ์ในภาพรวมที่ระดับมากที่สุด ทั้ง 5 ด้าน มีค่าเฉลี่ย 4.96 ประกอบด้วยด้านการส่งเสริมการจำหน่าย (̄x = 4.76) ด้านการปกป้องผลิตภัณฑ์ (̄x = 4.72) ด้านการบรรจุ (̄x = 4.62) ด้านความสะอาดและปลอดภัย (̄x = 4.59) และด้านอำนวยความสะดวก (̄x = 4.57) ประเด็นที่นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจมากที่สุด คือมีภาพประกอบสวยงาม สื่อสารถึงเรื่องราวของตัวสินค้าได้และข้อมูลสำคัญบนบรรจุภัณฑ์ครบถ้วน
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2566). คู่มือการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2566, จาก //http://tipmse.fti.or.th/webdatas/publisher/p_7.pdf
จักรพันธุ์ พันธุ์พฤกษ์. (2550) การออกแบบบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มชาเขียว ประเภทขวดพลาสติก ด้านรูปทรงและสีของฉลาก . กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2545). แนวคิดในการศึกษาอัตลักษณ์ความเป็นไท. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ชนิสรา แก้วสวรรค. (2564). การพัฒนาศักยภาพด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตเกษตรอำเภอบางคล้าจังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 10(2), 92 – 108.
ชุลีกร เทพบุรี, ธัญญ์ธิชา ศรีคา, นภัสสร แซ่ลิ้ม, ศุภชัย เหมือนโพธิ์ และวทัญญู รัศมิทัต. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการรายย่อย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 3(1), 57.
ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, รุ่งทิวา ชูทอง. และสุธาทิพย์ ทั่วจบ. (2563). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตลาดดิจิทัลผลิตภัณฑ์ข้าวปลอดสารแปรรูปกลุ่มวิสาหกิจข้าวเตาปูน จังหวัดราชบุรี. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, (12)3, 24 – 34.
นพวรรณ ชีวอารี. (2555). การวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์หมูแปรรูปเพื่อส่งเสริมการขาย กรณีศึกษาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์หมูแปรรูปในชุมชนท้องถิ่น จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาโทศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขานวัตกรรมการออกแบบ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปุ่น คงเจริญเกียรติ และ สมพร คงเจริญเกียรติ. (2541). บรรจุภัณฑ์อาหาร. สมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย.
พบพร เอี่ยมใส, ธนกิจ โคกทอง, และอําไพ แสงจันทร์ไทย. (2561). การออกแบบบรรจุภัณฑ์แบบมีส่วนร่วม กลุ่มสมุนไพรพอลอยอําเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 9(2), 49-59.
พรพิมล ศักดา และวรารัตน์ วัฒนชโนบล. (2559 ). การออกแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือโดยใช้วัสดุท้องถิ่น กรณึศึกษา กลุ่มอาชึพเสริมบ้านสุขเกษม อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 9 ราชมงคลสร้างสรรค์กับนวัตกรรมที่ยั่งยืนสู่ประเทศไทย 4.0
ศรีชนา เจริญเนตร. (2561). การศึกษาและพัฒนารูปแบบอัตลักษณ์ล้านนา เพื่อใช้ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ล้านนา. ศิลปกรรมสาร, 6(1), 105 – 130.
ศิรินาถ ปิ่นทองพันธ์.(2546). การรับรู้และการสื่อสารในการแสดงอัตลักษณ์ความเป็นชาวใต้ของนักศึกษาภาคใต้ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาวาทวิทยา ภาควิชาวาทวิทยและสื่อสารการแสดง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริพร เต็งรัง. (2558). รายงานโครงการวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ : กรมวิชาการเกษตร. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2566, จาก http : //www.doa.go.th.
โศภิษฐ์ คงคากุล และพัดชา อุทิศวรรณกุล. (2565). การออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์จากกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่ดอยตุงโดยใช้ทฤษฎีความยั่งยืนเพื่อการส่งออกประเทศญี่ปุ่น. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 10(1), 10-20.
สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). รายงานความก้าวหน้าเผ้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2559 – 2563 . กรุงเทพฯ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สุจรรยา โชติช่วง. (2554). การศึกษาสภาพการพัฒนาอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง กศ.ม. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุรางค์รัตน์ พจี. (2550) การออกแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือโดยใช้วัสดุท้องถิ่น กรณึศึกษา กลุ่มอาชีพเสริมบ้านสุขเกษม อําเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ นครปฐม วิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
อโนทัย เพ็ชรสุวรรณ. (2549). การออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับข้าวแต๋นในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาโทการศึกษามหาบัณฑิต สาขาอุตสาหกรรมศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อัรฮาวี เจ๊ะสะแม และยอดนภา เกษเมือง. (2564). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนปุรณาวาส เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 15(2), 79 – 90.
Hall, S., & Du Gay, P. (1996). Questions of cultural identity. London: SAGE. Huertas, A., Míguez-González, M. I., & Lozano-Monterrubio, N. (2017). YouTube usage by Spanish tourist destinations as a tool to communicate their identities and brands. Journal of Brand Management, 24(3), 211-229.
Office of the National Economic and Social Development Council. (2016). The 2nd national economic and social development plan (2018-2021). Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Council.
WestRock. (2016). Annual Report 2016. December 1, 2022, Retrieved from https://www.annualreports.com/ HostedData/AnnualReportArchive/w/NYSE_WRK_2016.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ