แนวทางการจัดกิจกรรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเยาวชนนักสื่อสารวัฒนธรรมท้องถิ่น : บทเรียนจากพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ณัฐวิภา สินสุวรรณ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • สุวัฒน์ พื้นผา คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • จารุณี เจริญรส คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • เบญนภา พัฒนาพิภัทร คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ยุวยง อนุมานราชธน คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • อนุสรณ์ สาครดี คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • กิตติพร ชูเกียรติ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • อรสุชา อุปกิจ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • อุกฤษ ณ สงขลา คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • กรกช ใจศักดิ์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

แนวทางการจัดกิจกรรม, การมีส่วนร่วม, วัฒนธรรมท้องถิ่น, เยาวชน, นักสื่อสาร

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเยาวชนนักสื่อสารวัฒนธรรมท้องถิ่นจากพื้นที่ปฏิบัติการภาคกลาง 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอ่างทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดสุพรรณบุรี 2. ประเมินผลลัพธ์ด้านความรู้ ความตระหนัก และการเห็นคุณค่าในตนเองของกลุ่มเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรม กลุ่มเยาวชนเป้าหมายเป็นนักเรียนจากโรงเรียนในพื้นที่ปฏิบัติการพื้นที่ละ 5 โรงเรียน ๆ ละ 10 คน รวมจำนวน 150 คน เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ สังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์ และการสำรวจ ผลการศึกษา พบว่า 1. แนวทางการจัดกิจกรรมควรพิจารณา (1) การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม (2) การกำหนดเป้าหมายของกิจกรรม (3) การกำหนดระยะเวลาจัดกิจกรรม (4) การออกแบบกิจกรรมที่เน้นการสร้างประสบการณ์ร่วมและเชื่อมโยงความรู้สู่การปฏิบัติ (5) การคัดเลือกปราชญ์ชาวบ้านเพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น (6) การประเมินผลกิจกรรม 2. ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรม พบว่า ในภาพรวม กลุ่มเยาวชนมีความรู้ ความตระหนัก และเห็นคุณค่าในตนเองเพิ่มขึ้นภายหลังเข้าร่วมกิจกรรมสะท้อนให้เห็นว่าแนวทางการจัดกิจกรรมข้างต้นก่อให้เกิดประสิทธิผลกับกลุ่มเป้าหมายและสามารถประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่น ๆ ได้

References

กรรณิการ์ เพ็งปรางค์ และกาญจนา แก้วเทพ. (2548). การมีส่วนร่วมในการสื่อสาร : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติจริง. วารสารนิเทศศาสตร์, 23(3-4), 62-81.

กริ่งกาญจน์ เจริญกุล ทิวาวรรณ ชัยขาว และเชวง ไชยวรรณ. (2564). กระบวนการเรียนรู้เพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมสื่อเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของสังคม. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 9(2), 168-179.

กาญจนา แก้วเทพ. (2558). หน่วยที่ 13 การสื่อสารกับการพัฒนาศาสนาและวัฒนธรรม ในเอกสารการสอนชุดวิชาการสื่อสารกับการพัฒนา หน่วยที่ 9-15 (น.1-71). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ณัฐวดี ใจแสวงทรัพย์และอุบลวรรณ หงษวิทยากร. (2557). การสร้างเสริมทุนชุมชนผ่านการเรียนรู้การสร้างสื่อศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 9(2), 452–464.

ทับทิม เป็งมล. (2564). กระบวนการสืบทอดวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ดำในกลุ่มเด็กและเยาวชน พื้นที่การท่องเที่ยวชุมชนบ้านจ่าโบ่ อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน.

นิทัศน์ วงศ์ธนาวดี. (2559). การสื่อความหมายทางวัฒนธรรมภายใต้โครงการจากงานวิจัยสู่อุทยานการเรียนรู้ TK park. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 10(1), 79-102.

ปาริชาต สถาปิตานนท์ และคณะ. (2549). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน : จากแนวคิดสู่ปฏิบัติการวิจัยในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

พวงชมพู ไชยอาลา แสงรุ่งเรืองโรจน์. (2556). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วม : กลไกในขับเคลื่อนแนวคิดสู่การปฏิบัติภายใต้กระบวนทัศน์การพัฒนาแบบทางเลือก. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 30(2), 23-42.

ภคพล รอบคอบและพัชนี เชยจรรยา. (2563). การสื่อสารเพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาและการสืบสานการทอผ้าพื้นเมืองของชุมชนบ้านนาป่าหนาด อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. งานประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 12 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วันที่ 9-10 กรกฎาคม 2563, 2023-2033. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ศศโสฬส จิตรวานิชกุล. (2560). กระบวนการสื่อสารเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนในชุมชน. วารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 10(2), 7-46.

สุธนิต เวชโชและใจทิพย์ ณ สงขลา. (2560). แนวคิดทฤษฎีกิจกรรม : กรณีศึกษาแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์แบบสะท้อนคิด. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 12(4), 681-694.

หฤทัย ปัญญาวุธตระกูล. (2565). การผลิตสื่อเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของแกนนำเยาวชนชุมชนบางลำพู. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(10), 49-61.

อภินันท์ ธรรมเสนา. (2560). บทเรียนการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยกรณีการพัฒนาความสามารถทางการสื่อสารของเยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ จังหวัดศรีสะเกษ. ในสมสุข หินวิมาน (บรรณาธิการ), การใช้ประโยชน์จากงานวิจัยด้วยเครื่องมือการสื่อสาร : การพัฒนากลุ่มคน (น. 17-91). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

อรมน ปั้นทองและวรวิทย์ ประสิทธิ์ผล. (2564). แนวทางการสื่อสารเพื่อสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมหัตถกรรมผ้าทอไทยพบวนบ้านใหม่ จังหวัดนครนายก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 5(1), 146-160.

อัจฉราวรรณ อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2559). หน่วยที่ 11 การบริหารจัดการและกลยุทธ์การสื่อสารเพื่ออนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมชุมชน ในเอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารจัดการและกลยุทธ์การสื่อสารชุมชน หน่วยที่ 11-15 (น. 1-73). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อาชวิชญ์ กฤษณสุวรรณ. (2565). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเครือข่ายพลังเยาวชนตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม. วารสารนักบริหาร, 42(1), 94-114.

อานนท์ บัวภาและมาโนช ชุ่มเมืองปัก. (2564). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทยกับการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนไทย. วารสารนิเทศศาสตรธุรกิจบัณฑิตย์, 15(2), 206-234.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-28