การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานต้นคลุ้มที่ตกแต่งพื้นผิวด้วยเทคนิคการเผา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสตรีจ้าวภูผา จันทบุรี

ผู้แต่ง

  • ณภัค แสงจันทร์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี
  • พนม จงกล คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี

คำสำคัญ:

ต้นคลุ้ม, เทคนิคการเผาแบบเชาสุกิบัน, การจี้ร้อน, เครื่องจักสาน, วิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จากต้นคลุ้มของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสตรีเจ้าภูผาที่ผ่านการตกแต่งพื้นผิวด้วยเทคนิคการเผา เพื่อเป็นการสร้างเฉดสีและลวดลายให้ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจากคลุ้มมีความแตกต่าง จากผลิตภัณฑ์เดิมที่มีการสานลวดลายจากคลุ้มสีธรรมชาติเท่านั้น โดยแบ่งเป็นสองเทคนิค คือ การจี้ร้อนใช้กับการวาดลวดลายบนแผ่นสานคลุ้ม และการเผาเชาสุกิบันใช้กับการสร้างสีบนตอกคลุ้มสำหรับสาน ร่วมกับการหาแนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการตอบแบบสอบถามความต้องการ เครื่องจักสานจากต้นคลุ้มในจังหวัดจันทบุรี ของผู้บริโภคจำนวน 357 คนมาวิเคราะห์และออกแบบร่างผลิตภัณฑ์ จากต้นคลุ้มที่ผ่านการตกแต่งพื้นผิวด้วยการเผาทั้งสองเทคนิค เทคนิคละ 2 ประเภท คือ 1.ประเภทตะกร้า 2.ประเภทแผ่นรองจานและช้อนส้อม แต่ละประเภทออกแบบ 4 แบบร่าง ให้ผู้เชี่ยวชาญใช้แบบประเมินคัดเลือกแบบร่างที่มีคะแนนสูงสุดเพื่อผลิตต้นแบบ ผลวิจัยพบว่า ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจากคลุ้มใช้เทคนิคการจี้ร้อนประเภทตะกร้ามีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ แบบร่างที่ 3 (gif.latex?\bar{X}=4.14) ประเภทแผ่นรองจานและช้อนส้อมมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ แบบร่างที่ 3 (gif.latex?\bar{X}=4.22) ผลิตภัณฑ์เครื่องจักรสานจากคลุ้มใช้เทคนิคการเผาแบบเชาสุกิบันประเภทตะกร้ามีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ แบบร่างที่ 1 (gif.latex?\bar{X}=4.06 )ประเภทแผ่นรองจานและช้อนส้อมมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ แบบร่างที่ 3 (gif.latex?\bar{X}=3.95)

References

กิตติพงศ์ เกียรติวิภาค. (2560). พัฒนาด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์โดยใช้กรอบแนวคิดการออกแบบหัตถอุตสาหกรรม Industrial Crafts Design Framework (Grow- Reborn). วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 9(2), 343-363.

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสตรีจ้าวภูผา. (2559). เอกสารข้อมูลกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสตรีจ้าวภูผา. จันทบุรี : กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสตรีจ้าวภูผา. (ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสตรีจ้าวภูผา. 2564 ธันวาคม). สัมภาษณ์โดย ณภัค แสงจันทร์ ที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสตรีจ้าวภูผา.

ธัญลักษณ์ ศุภพลธร. (2566). การพัฒนาบรรจภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพรจากอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ม้งเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนบ้านห้วยหาน จังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 11(1), 153-163.

เพื่อนรักช่างหนัง. (2564). เทคนิค Pyrography สร้างสรรค์งานหนังดีๆ ด้วยการจี้ร้อน. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2564. จาก https://tmleatherfriend.com.

มณเฑียร พัฒนเสมาและคณะ. (2553). โครงการ “การศึกษาความรู้ชาวชองเรื่องพืชคลุ้มคล้า (รุ่นทาก-รุ่นเชอ)”. กรุงเทพฯ : ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2564). แผนการส่งเสริม SME พ.ศ. 2564-2565. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2564. จาก https://www.sme.go.th.

อุดทะยาน. (2562). ถนอม ‘ไม้’ ด้วย ‘ไฟ’. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2564. จาก https://www.utthayan.com.

Stewart, J. (2021). How to Creatively Decorate Wood Using the Art of Pyrography. . Retrieved December 15, 2023, from https://mymodernmet.com/pyrography-wood-burning-art/.

Bible, T. (2022). Gifting Trends for 2023. Retrieved December 15, 2023, from https://www.youtube.com/watch?v=_LOfF0Rz TS8

Yamane. (1973). Statistics, An Introductory Analysis,2nd Ed. New York : Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-26