การศึกษาและพัฒนาลวดลายกราฟิกเชิงวัฒนธรรมเพื่อสร้างสรรค์อัตลักษณ์จังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • สิริวิภา วิมุกตายน คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • ศาสตรพันธ์ บุญน้อย คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • ภัทรา ศรีสุโข คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

คำสำคัญ:

ลวดลายกราฟิกเชิงวัฒนธรรม, อัตลักษณ์, จันทบุรี

บทคัดย่อ

การศึกษาและพัฒนาลวดลายกราฟิกเชิงวัฒนธรรมเพื่อสร้างสรรค์อัตลักษณ์จังหวัดจันทบุรี มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี 2) เพื่อออกแบบลวดลายกราฟิกเชิงวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี โดยมีวิธีการดำเนินงานวิจัย การศึกษาข้อมูลเอกสาร หนังสือ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทางด้านวัฒนธรรม การสนทนากลุ่ม (Focus Group) การประเมินรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านวัฒนธรรม และการออกแบบกราฟิก ผู้วิจัยนำข้อมูลจากการศึกษามาออกแบบลวดลายกราฟิกเชิงวัฒนธรรม ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การสนทนากลุ่ม และผลการประเมินรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ประชากร ได้แก่ นักท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักท่องเที่ยวจำนวน 100 คน  โดยใช้วิธีการสุ่มโดยบังเอิญ (accidental sampling)

             ผลจากการวิจัย พบว่า แนวทางการออกแบบลวดลายกราฟิกเชิงวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี มีอัตลักษณ์สำคัญที่นำมาใช้ในการออกแบบลวดลายกราฟิกเชิงวัฒนธรรม ได้แก่ 1) อัญมณี ประกอบด้วย พลอยแดง พลอยน้ำเงิน พลอยบุษราคัม         2) กระต่ายในดวงจันทร์ ซึ่งเป็นสัตว์สัญลักษณ์ประจำจังหวัดจันทบุรี 3) ผลไม้ จังหวัดจันทบุรีเป็นจังหวัดที่อุดมสมบูรณ์ ผลไม้ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือทุเรียนพันธุ์หมอนทองซึ่งเป็นผลไม้เศรษฐกิจ 4) เสื่อจันทบูร หัตถกรรมที่ขึ้นชื่อของจันทบุรีมาช้านาน ลวดลายกราฟิกเชิงวัฒนธรรมที่ผู้คนรับรู้ได้มากที่สุดคือ ลวดลายของเสื่อจันทบูร และนำมาทำการออกแบบกราฟิกเชิงวัฒนธรรมทั้งหมด 10 แบบร่าง ซึ่งประกอบไปด้วย อัตลักษณ์ของจังหวัดจันทบุรี จากนั้นให้ผู้เชี่ยวชาญคัดเลือกเหลือเพียง 3 แบบ จากนั้นนำไปให้นักท่องเที่ยวประเมินความพึงพอใจต่อแบบร่างลวดลายกราฟิกเชิงวัฒนธรรม  พบว่า ลำดับที่ 1 คือ แบบที่ 1 ชื่อ ผลงานประกายเสื่อ มีค่าเฉลี่ยรวมความพึงพอใจต่อแบบร่างลวดลายกราฟิกเชิงวัฒนธรรมเท่ากับ 4.38 (S.D.=0.71) ลำดับที่ 2 คือ แบบที่ 3 ชื่อ กระต่ายลักษณ์จันท์ มีค่าเฉลี่ยรวมความพึงพอใจต่อแบบร่างลวดลายกราฟิกเชิงวัฒนธรรมเท่ากับ 4.24 (S.D.=0.79) และลำดับที่ 3 คือ แบบที่ 2 ชื่อผลงาน อัญลักษณ์  มีค่าเฉลี่ยรวมความพึงพอใจต่อแบบร่างลวดลายกราฟิกเชิงวัฒนธรรมเท่ากับ 3.78 (S.D.=0.93)

References

ธนกฤต ใจสุดา ,ภรดี พันธุภากร และ พรพิมล พจนาพิมล. (2562). เครื่องประดับอัตลักษณ์จันทบุรี : การศึกษาอัตลักษณ์เพื่อพัฒนารูปแบบเครื่องประดับในเชิงพาณิชย์. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 7(1), 178-193

พีนาลิน สาริยา. (2549). การออกแบบลวดลาย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์,

แสนชัย ลิขิตธีรวุฒิ. (2562). รายงานการวิจัย เรื่อง การศึกษาแนวทางการออกแบบเรขศิลป์เพื่อสร้างอัตลักษณ์ชุมชนต้นแบบสำหรับส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

Miller, J. (2016). China. in Jewel: A Celebration of earth’s Treasures. (pp. 34-62). London: Dorling Kindersley (UK).

Keung, L. (2022). The Principles of Design Retrieved August 7, 2566, จาก https://design.tutsplus.com/articles/the-principles-of-design--cms-33962

Holowko, R. (2022). Pattern Design Secrets. Retrieved August 7, 2566, from https://patternanddesign.com/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-26