แนวทางการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาสูบของเด็กและเยาวชนในระบบการศึกษาและการศึกษานอกระบบ
คำสำคัญ:
สื่อการเรียนรู้, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ผลิตภัณฑ์ยาสูบ, การศึกษาในระบบ, การศึกษานอกระบบบทคัดย่อ
การวิจัยมีนี้วัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาสูบของเด็กและเยาวชนในการศึกษาในระบบ และเด็กและเยาวชนที่อยู่ในการศึกษานอกระบบ (2) เปรียบเทียบระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาสูบของเด็กและเยาวชนที่อยู่ในการศึกษาในระบบ และการศึกษานอกระบบ และ (3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาสูบของเด็กและเยาวชนในระบบการศึกษาและการศึกษานอกระบบ การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) แบ่งขั้นตอนการวิจัยออกเป็นขั้นตอน ตอนที่ 1 เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กและเยาวชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร อยู่ในความดูแลของการศึกษาในระบบ จำนวน 466 คน และการศึกษานอกระบบ จำนวน 489 คน ใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน มีชุดแบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย ตอนที่ 2 เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นการพัฒนาและจัดทำแนวทางการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 คน เลือกกลุ่มเป้าหมายโดยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง มีประเด็นและแบบบันทึกการสนทนากลุ่มเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า (1) ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาสูบของเด็กและเยาวชนการศึกษาในระบบภาพรวมอยู่ที่ระดับดีมาก (ร้อยละ 85.37) และเด็กและเยาวชนในการศึกษานอกระบบภาพรวมอยู่ที่ระดับดีมาก (ร้อยละ 81.50) (2) เปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาสูบของกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่ม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 และ (3) แนวทางการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาสูบของเด็กและเยาวชนในระบบการศึกษาและการศึกษานอกระบบ ประกอบด้วยประเด็นพิจารณาด้านวัตถุประสงค์ต้องกำหนดให้สามารถพัฒนาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ ด้านเนื้อหาสาระของสื่อเน้นการพัฒนาทักษะการสื่อสาร แนวทางการพัฒนาสื่ออาจใช้รูปแบบการพัฒนาสื่อที่พัฒนาขึ้นหรือนำรูปแบบที่มีผู้พัฒนาไว้แล้วมาใช้ สื่อที่ควรพัฒนาต้องสอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้สื่อ ด้านการประเมินสื่อควรประเมินเนื้อหาและประสบการณ์ที่ถ่ายทอด และการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ควรคำนึงถึงเป้าหมายการเรียนรู้และผู้พัฒนาสื่อต้องมีความเข้าใจธรรมชาติของเด็กและเยาวชน
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่และการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2563). รวมเทคนิคการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับกลุ่มวัยทำงาน. นนทบุรี: บริษัท จัน ชนา จำกัด.
กองสุขศึกษา. (2563). รวมเทคนิคการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับกลุ่มวัยทำงาน. นนทบุรี: บริษัท จันชนา จำกัด.
กิ่งกาญจน์ บูรณสินวัฒนกูล. (2562). รายงานการวิจัย การพัฒนาสื่อการเรียนรู้บอร์ดเกมการศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถการเรียนรู้ในรายวิชาพัฒนาการแบบเรียนภาษาไทยและความสุขในการเรียนรู้สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2563). การจัดการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย.
เกศินี สราญฤทธิชัย. (2564). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: แนวคิด ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: หจก.ขอนแก่นการพิมพ์.
ชนกนารถ บุญวัฒนะกุล. (2561). หน่วยที่ 14 จิตวิทยาการเรียนรู้กับการศึกษานอกระบบ. ใน จิตวิทยาและวิทยาการการเรียนรู้ หน่วยที่ 8-15 (พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชลทิตย์ เอี่ยมสำอางค์. (2558). หน่วยที่ 2 กลุ่มเป้าหมายการศึกษานอกระบบ. ในประสบการณ์วิชาชีพการศึกษานอกระบบ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชลาภรณ์ สุวรรณสัมฤทธิ์. (2556). หน่วยที่ 2 การจัดระบบสื่อเพื่อการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. ใน การพัฒนาและการใช้สื่อการศึกษานอกระบบ หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ณัชชา พัฒนะนุกิจ. (2559). การดำเนินงานการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ในกลุ่มเยาวชนขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่น. ดุษฎีนิพนธ์ ปร.ด. (นิเทศศาสตร์). นนทบุรี: สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ทิฆัมพร ราชวงค์ และบุหงา ชัยสุวรรณ. (2564). กลยุทธ์การสื่อสารสุขภาพและความพึงพอใจในการใช้ชุมชนออนไลน์ด้านสุขภาพ. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 9(1), 166-181.
เทพไทย โชติชัย และคณะ. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 7(1), 45-56.
ธนูรัตน์ พุทธชาติ. (ม.ป.ป). รู้เท่าทันพิษภัยบุหรี่. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2566, จาก http://thaincd.com/document/file/download/powerpoint/Moddule%205_smoking.pdf.
ประชิด เชยเกีวงศ์. (2541). พื้นฐานการศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาต่อเนื่อง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่. (ม.ป.ป). การเสพติดบุหรี่. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2566, จากhttp://www.smokefreezone.or.th/content_attachment/attach/60_6.pdf.
เมธชนนท์ ประจวบลาภ และคณะ. (2565). การมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครต่อการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ. ใน วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย. 6(2), 413-424.
ราชกิจจานุเบกษา. (2542). เล่มที่ 116 ตอนที่ 74 ก, หน้าที่ 1-23.
ราชกิจจานุเบกษา. (2561). เล่มที่ 135 ตอนที่ 82 ก, หน้าที่ 1.
วรวิทย์ นิเทศศิลป์. (2551). สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้. ปทุมธานี: สกายบุ๊กส์.
วรัทยา ธรรมกิตติภพ และคณะ. (2564). การติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
วิกานต์ดา โหม่งมาตย์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนชาย ชั้นประถมศึกษาตอนปลาย อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (จิตวิทยาชุมชน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศุภกร ศรีศักดา. (2562). หน่วยที่ 2 การบริหารจัดการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. ใน การจัดการศึกษานอกระบบ (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2565). สถิติการศึกษา ประจำปี 2564. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://bict.moe.go.th/wp-content/uploads/2022/11/171-AW-statistics-2564-e-Book .pdf
ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ. (2562). ก้าวทันวิจัยกับ ศจย. ปีที่ 11 ฉบับที่ 12 พ.ศ.2562. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2566, จาก http://www.trc.or.th/th/attachments/article/293/ก้าวทันวิจัยกับ%20ศจย.%20ปีที่%2011-2.pdf
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2565). รายงานจำนวนนักศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 จำแนกตามอายุ ภาคเรียน 65/1. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2566, จาก http://mis.nfe.go.th/NFE-MIS/student_itw_age_by_province_process.php.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). การสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร พ.ศ. 2564. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2566, จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านสังคม/สาขาสุขภาพ/สำรวจพฤติกรรมการด้านสุขภาพของประชากร/2564/report_2501_64.pdf.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). รายงานภาวะสังคมไทย ไตรมาสสาม ปี 2565. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=5491& filename=socialoutlook_report.
สิตาภา เกื้อคลัง. (2561). องค์ประกอบและแนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของ กศน.ตำบล. ปริญญานิพนธ์ ศษ.ด. (การศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนามนุษย์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อุทัยวรรณ พงษ์บริบูรณ์ และรัชยา รัตนะถาวร. (2565). การสูบบุหรี่ในวัยรุ่น: แนวทางสร้างการป้องกัน. วารสารพยาบาลทหารบก. 23(1), 6-13.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed). New York: Haper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ