บทบาทการพัฒนาชุมชนของคณะกรรมการชุมชนเทศบาลเมืองวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

พระศตวรรษ ชินวโร (อุดมศรี)

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาบทบาทการพัฒนาชุมชนของคณะกรรมการชุมชนเทศบาลเมืองวิเชียรบุรีจังหวัดเพชรบูรณ์ 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบบทบาทการพัฒนาชุมชนของคณะกรรมการชุมชนเทศบาลเมืองวิเชียรบุรีจังหวัดเพชรบูรณ์ และ 3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อบทบาทการพัฒนาชุมชนของคณะกรรมการชุมชนเทศบาลเมืองวิเชียรบุรีจังหวัดเพชรบูรณ์ ดำเนินการวิจัยโดยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ รวม 393 คน จากประชาชนทั้งหมดจำนวน 23,499 คนโดยใช้สูตรทาโร่ยามาเน่  (Taro Yamane)  สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test)  และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD.) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth.Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 7 ท่าน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ประชาชนมีความคิดเห็นต่อบทบาทการพัฒนาชุมชนของคณะกรรมการชุมชนเทศบาลเมืองวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 3.77) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือ ด้านส่งเสริมเศรษฐกิจ (gif.latex?\bar{x}= 3.87) ด้านการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย ( gif.latex?\bar{x}= 3.80) ด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและสาธารณสุข  (gif.latex?\bar{x} =3.77) ด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (gif.latex?\bar{x}= 3.73) ด้านอำนวยการ (gif.latex?\bar{x}= 3.73) และ ด้านแผนพัฒนาหมู่บ้าน (gif.latex?\bar{x} = 3.59) ซึ่งทุกด้านอยู่ในระดับมาก

  2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นบทบาทการพัฒนาชุมชนของคณะกรรมการชุมชนเทศบาลเมืองวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยภาพรวมพบว่า ประชาชนที่มี เพศ อายุ การศึกษา สถานภาพ และรายได้ แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทการพัฒนาชุมชนของคณะกรรมการชุมชนเทศบาลเมืองวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงปฏิเสธสมติฐานการวิจัย

  3. ปัญหา อุปสรรค เกี่ยวกับบทบาทการพัฒนาชุมชนของคณะกรรมการชุมชนเทศบาลเมืองวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า การประชาสัมพันธ์ ข้อมูลข่าวสารภายในชุมชน ไม่ครอบคลุม เพราะขาดเครื่องมือสื่อสาร เช่น หอกระจายข่าวไม่เพียงพอ ทำให้ขาดการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับกิจกรรมในวันสำคัญต่าง ๆ รวมไปถึงการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโรคภัยต่าง ๆ จากกระทรวงสาธารณสุข และยังขาดการวางแผนเกี่ยวกับการรับมือของเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง รวมไปถึงการส่งเสริมการประกอบอาชีพภายในหมู่บ้านเพื่อสร้างรายได้

ข้อเสนอแนะ คือ ควรมีการของบประมาณเพื่อติดเครื่องกระจายเสียง ให้ทั่วหมู่บ้านเพื่อการกระจายข้อมูลข่าวสารให้ครอบคลุมชุมชน และควรมีการจัดเวรยามตรวจตราภายในหมู่บ้าน ในเวลากลางคืน เพราะมีกลุ่มคนบางกลุ่มมักก่อความวุ่นวายในเวลากลางคืน ทำให้ทรัพย์สินสาธารณะเกิดความเสียหาย และควรมีการตั้งศูนย์รับร้องทุกข์ประจำชุมชนเพราะในบางกรณีประชาชนในชุมชนก็ไม่สามารถเข้าถึงคณะกรรมชุมชนได้ อาจเพราะมีกิจธุระรัดตัวนั่นเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. งานประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดเทศบาล เทศบาลเมืองวิเชียรบุรี. (2557). “ข้อมูลทั่วไป เทศบาลเมืองวิเชียรบุรี”. วารสารประชาสัมพันธ์เทศบาลเมืองวิเชียรบุรี มกราคม-เมษายน.

2. ชญานิน วังตาล. (2555). “การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมอาชีพอิสระเรื่องการประดิษฐ์ของใช้และของชำร่วยแก่ชุมชนหนองเส้ง ตำบลวัดเกต อำเภอเมืองเชียงใหม่”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต อาชีวศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

3. เทศบาลเมืองวิเชียรบุรี (2560). จำนวนประชากร. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www. wichainburee. go.th/condition.php, [27 กันยายน].

4. ธณัช พิพัฒนปราการ. (2552). “ความรู้ ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของคณะกรรมการชุมชน ในเขตเทศบาล ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ”. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

5.พระมหาพุฒิสรรค์ ปญฺญวชิโร (สมบุญ). (2556). “บทบาทกำนันผู้ใหญ่บ้านในการส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงในตำบลทมอ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์”. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต รัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

6. พระมหาภัทร์ภูวไนย ภทฺทภูรี (ยิ้มเกิด). (2553). “ศึกษาบทบาทในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ของพระราชปัญญาเวที (ริด ริตเวที)”. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต รัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิต วิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

7. พระมหาอนุชิต อนุจารี (ถนัดเลื่อย). (2556). “การพัฒนาสังคมตามหลักสาราณียธรรม ขององค์การบริหารส่วนตำบลแข้ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ”. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาสังคม). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

8. พัชรินทร์ แจ้งอิ่ม. (2556). “การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูตามหลักภาวนา 4 ในเขตอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์”. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

9. ลภสัรดา รติกันยากร. (2555). “บทบาทของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในอำภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่”.วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

10. ส่วนพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานท้องที่สำนักบริหารการปกครองท้องที่กรมการปกครอง. (2551). คู่มือการปฏิหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.). กรุงเพทมหานคร: สำนักบริหารการปกครองท้องที่ กรมการปกครอง.