ศึกษาการบริหารงานวิชาการของพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษาจังหวัดพิจิตร เขต 2

Main Article Content

พระสมพร อุชุธมฺโม นิ่มนวล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวัตถุประสงค์ข้อที่ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษาจังหวัดพิจิตร เขต 2  2) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะการบริหารงานวิชาการของพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษาจังหวัดพิจิตร เขต 2 โดยศึกษากับประชากรจำนวน 102 รูป ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปปัญหาและข้อเสนอแนะ โดยวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้


ผลการวิจัยพบว่า


  1. พระสอนศีลธรรมในสถานศึกษาจังหวัดพิจิตร เขต 2 มีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารงานวิชาการของพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษาจังหวัดพิจิตร เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายละเอียดแต่ละด้านพบว่า 1) ด้านหลักสูตร พบว่า การบริหารงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายละเอียดแต่ละข้อ พบว่า ด้านหลักสูตรอยู่ในระดับมาก ในข้อ “ความสามารถในการนำหลักสูตรไปใช้ในการจัดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม” และมีความคิดเห็นในระดับน้อยที่สุด ในข้อ “ความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551” ส่วนข้อที่เหลืออยู่ในระดับมากทุกข้อ 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายละเอียดแต่ละข้อ พบว่า มีความคิดเห็นด้านการจัดการเรียนการสอน ในระดับมากในข้อ “ความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อนักเรียนอย่างเป็นกัลยาณมิตร” และมีความคิดเห็นในระดับน้อยที่สุดในด้านนี้ข้อ “ความสามารถในการใช้ภาษาและอธิบายเนื้อหาได้ชัดเจนในขณะสอน” ส่วนข้อที่เหลืออยู่ในระดับมากทุกข้อ 3) ด้านการใช้สื่อการสอน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายละเอียดแต่ละ ข้อพบว่า มีความคิดเห็นด้านการใช้สื่อการสอนในระดับมากในข้อ “ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีประกอบการจัดการเรียนรู้”และมีความคิดเห็นในระดับน้อยที่สุดในด้านนี้ข้อ “ความสามารถในการคิดค้นนวัตกรรม สื่อ และนำไปใช้ประกอบการสอน” ส่วนข้อที่เหลืออยู่ในระดับมากทุกข้อ 4) ด้านการวัดผลประเมินผล พบว่า อยู่ในระดับมากในข้อ “ความรู้ความเข้าใจในการแปรผลและนำผลที่ได้ไปปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา” และมีความคิดเห็นในระดับน้อยที่สุดใน ข้อความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบการวัดและประเมินผลของสถานศึกษา ส่วนข้อที่เหลืออยู่ในระดับ ปานกลางทุกข้อ

  2. ปัญหาและข้อเสนอแนะการบริหารงานวิชาการของพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษาจังหวัดพิจิตร เขต 2 ดังนี้

 ด้านหลักสูตร ปัญหาคือ ขาดความรู้ ความเข้าใจในการจัดทำหลักสูตร สถานศึกษา ทั้งไม่สามารถกำหนดโครงสร้างหลักสูตรได้ตามเป้าประสงค์ที่จะให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ข้อเสนอแนะควรวางแผนการทำงานให้พระสอนศีลธรรมอย่างเป็นระบบระเบียบ และต้องมีนโยบายในการหาพระที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาปฏิบัติงานเพื่อให้งานออกมาสมบูรณ์ที่สุด


ด้านการผลิตและการใช้สื่อ ปัญหา คือ ขาดความรู้ในการใช้เทคโนโลยีในการสอน รวมทั้งขาดเทคโนโลยีในการสอน ข้อเสนอแนะควรสนับสนุนทุนในการซื้อเทคโนโลยีให้พระสอนศีลธรรม และจัดให้ความรู้แก่พระวิทยากรที่สอนธรรมอย่างทั่วถึง


ด้านการดำเนินการสอน ปัญหา คือนักเรียนไม่เชื่อฟัง ครูไม่สามารถควบคุมชั้นเรียนได้ดีเท่าที่ควรในขณะทำการสอน ข้อเสนอแนะ ควรพระสอนศีลธรรมควรมีการสอนแบบผ่อนคลายไม่ควรสอนแต่ธรรม แต่ต้องสอดแทรกความสนุกสนานอย่างอื่นเพื่อดึงดูดความสนใจของนักเรียน


ด้านการวัดผลประเมินผล ปัญหา คือสถานศึกษาไม่ได้ให้ระเบียบการวัดผล ประเมินผลของสถานศึกษาแก่พระสอนศีลธรรม และไม่มีความรู้ความเข้าใจในการประเมินผลตามสภาพจริง ข้อเสนอแนะ ควรสถานศึกษาควรมีเจ้าหน้าที่วัดผลประเมินผลที่ชำนาญให้แก่พระสอนศีลธรรมและมีการประเมินผลอย่างจริงจัง เพื่อจะได้ทราบถึงความสำคัญของการเรียนว่าควรมี มากน้อยเพียงใด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). การจัดสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสูตรการศึกษาพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์.

2. โครงการพระสอนสอนศีลธรรมในโรงเรียน. (2552). “รายงานสัมมนาพระสอนศีลธรรม พระนักเทศน์และพระนักเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั่วประเทศ ประจำปี 2552”. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนสามลดา.

3. ณัฎฐิกา ลิ้มเฉลิม. (2549). “การศึกษาสภาพโรงเรียนวิถีพุทธในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาราชบุรี เขต 1”. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

4. ประภาศรี สีหอำไพ. (2552). “พื้นฐานการศึกษาทางศาสนาและวัฒนธรรม”. โครงการพระสอนศีลธรรม ในโรงเรียน. รายงานสัมมนาพระสอนศีลธรรม ประจำปี 2442. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนสามลดา.

5. พระมหานอม เตชวโร (ชาติผักแว่น). (2548). “การศึกษาปัญหาและแนวหางการแก้ปัญหาการสอนพระปริยัติธรรมของครูสอนพระปริยัติธรรมในสำนักศาสนศึกษาแผนกธรรม จังหวัดนครราชสีมา”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

6. พระมหาสมศักดิ์ ศรีบริบูรณ์. (2551). “ศึกษาแนวทางในการพัฒนาสมรรถภาพการสอนของครูพระสอน ศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตกรุงเทพมหานคร”. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

7. พระราชรัตนมงคล (มนตรี ยางธิสาร). (2547). “ความคิดเห็นของครูพระสอนศีลธรรมเกี่ยวกับการ ปฏิบัติงานสอนในโรงเรียนเขตกรุงเทพมหานคร”. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

8. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2531). รายงานการวิจัยองค์ประกอบบางประการที่มี อิทธิพลต่อสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาแห่งชาติ.

9. สำนักนโยบายและแผนการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายและแผนการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม.