การบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหาร ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกลุ่มโรงเรียนหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

บุญถม อินทรถา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหาร ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกลุ่มโรงเรียนหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหาร ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกลุ่มโรงเรียนหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อจำแนกตาม สถานภาพส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกลุ่มโรงเรียนหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์


งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed Methods Research)  โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามในการการสำรวจ และวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนและคณะกรรมสถานศึกษา สังกัดกลุ่มโรงเรียนหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 ได้แก่ครูผู้สอน จำนวน 100 คน และคณะกรรมสถานศึกษา จำนวน 123 คน รวมจำนวน 223 คน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 141 คน โดยการเปิดตารางสำเร็จรูปของเครจซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ใช้วิธีการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเป็นสัดส่วน โดยพิจารณาจากจำนวนประชากร เพื่อให้ได้ข้อมูลมีลักษณะกระจาย ให้สัมพันธ์กับสัดส่วนของประชากร โดยใช้สถานศึกษา เป็นเขตพื้นที่ในการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างเป็นสัดส่วน และสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 7 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา  (Descriptive Statistics) ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติอ้างอิงคือการทดสอบค่าที (t-test) ข้อมูลคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า


1) สภาพการบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหาร ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกลุ่มโรงเรียนหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ผลการวิเคราะห์ระดับความคิดเห็น ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.22 ด้านการบริหารงานวิชาการมีค่าเฉลี่ย 4.20 ด้านการบริหารงานงบประมาณ มีค่าเฉลี่ย 4.13 ด้านการบริหารงานบุคคลมีค่าเฉลี่ย 4.29 ด้านการบริหารงานทั่วไป มีค่าเฉลี่ย 4.21 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีบทบาทในคณะกรรมสถานศึกษามีจำนวน 123 คน คิดเป็นร้อยละ 55.16 ระดับการศึกษาเป็นผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี จำนวน 122 คน คิดเป็นร้อยละ 44.85


2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหาร ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกลุ่มโรงเรียนหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ โดยจำแนกตาม บทบาทที่เกี่ยวกับสถานศึกษาและระดับการศึกษา พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้


3) แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหาร ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกลุ่มโรงเรียนหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ การบริหารสถานศึกษาทั้ง 4 ด้าน ผู้บริหารสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารสถานศึกษาของตนเอง พบว่าด้านการบริหารจัดการมีความรู้ ความเข้าใจในการบริหารจัดการสถานศึกษา เป็นคุณสมบัติพื้นฐานของผู้บริหาร การใช้ศาสตร์และศิลป์ในการบริหารจัดการ มีความสามารถในการปกครองบังคับบัญชา  ผู้ร่วมงานความสุจริตโปร่งใสและเที่ยงธรรม มีความสามารถในการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องรวดเร็วและกล้าตัดสินใจ ปฏิบัติตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ  มีความสามารถในการวางแผนพัฒนาโรงเรียนเพื่อพัฒนาองค์กรไปสู่เป้าหมาย สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้  มีการวางแผน จัดทำโครงการต่าง ๆ ที่น่าสนใจอยู่ตลอดเวลา  การวางคนได้เหมาะสมกับงานput the right man on the right job มีการสร้างทีมงาน (Team Work) ที่เข้มแข็งมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความรอบรู้ และมีความแม่นยำในกฎระเบียบของทางราชการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ชรินทร์ทิพย์ หาญประเสริฐ. (2558). “คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาอำเภอบางน้ำเปรี้ยวสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1”. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

2. ณัฏฐนันท์ มันตะพงศ์. (2555). “คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

3. ณัฐพร ภูทองเงิน. (2555). “คุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

4. พระมหาบุญเสริม ธมฺมทินฺโน (ทองศรี). (2559). “คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2”. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

5. วรกาญจน์ สุขสดเขียว. (2553). “คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร”.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

6. สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. และคนอื่น ๆ. (2542). การจัดระบบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหาร.กรุงเทพมหานคร: ที พี.

7. สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2543). ความเป็นครู. เอกสารประกอบการสอนวิชา 1011101. สถาบันราชภัฏสุรินทร์: ภาคพื้นวิชาการศึกษา คณะครุศาสตร์.

8. อิศรา เจะมะ. (2552). “คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต 1”. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.