การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตภาคเหนือตอนล่าง กลุ่ม 5

Main Article Content

ศุภาวรรณ แก้วทิพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของศูนย์การศึกษาพิเศษ  เขตภาคเหนือตอนล่าง กลุ่ม 5 2)เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตภาคเหนือตอนล่าง กลุ่ม 5จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและ 3) เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของศูนย์การศึกษาพิเศษ  เขตภาคเหนือตอนล่าง กลุ่ม 5 โดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 180 คน ได้แก่ ผู้บริหาร 5 คน ครู 86 คน บุคลากร 89 คน รวมทั้งหมด 180 คน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยวิธีการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาในการวิเคราะห์ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การเปรียบเทียบข้อมูลความเห็นโดยการทดสอบสมมติฐานด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยมีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด Least Significant Difference : LSD) และสรุปข้อมูลจากข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนา โดยวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก


ผลการวิจัย พบว่า


  1. สภาพการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตภาคเหนือตอนล่าง กลุ่ม 5 มี 7 ด้าน ได้แก่ 1) การเก็บรวบรวมข้อมูลทั่วไปของเด็กพิการ 2) การคัดกรองประเภทความพิการทางการศึกษาและการส่งต่อ 3) การประเมินความสามารถพื้นฐาน 4) การจัดทำแผนการให้บริการเฉพาะครอบครัว 5) การให้บริการด้วยกิจกรรมที่เหมาะสม 6) การประเมินความก้าวหน้า 7) การนิเทศ ติดตาม ประเมินผลและการส่งต่อโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มตามหลักสังคหวัตถุ 4 ด้านอัตถจริยา รองลงมาคือ การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มตามหลักสังคหวัตถุ 4 ด้านทานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มตามหลักสังคหวัตถุ 4 ด้านสมานัตตตาและการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มตามหลักสังคหวัตถุ 4 ด้านปิยวาจาตามลำดับ

  2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และบุคลากรที่มีต่อการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของศูนย์การศึกษาพิเศษเขตภาคเหนือตอนล่าง กลุ่ม 5 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นต่อการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตภาคเหนือตอนล่าง กลุ่ม 5 ไม่แตกต่างกัน ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุและตำแหน่ง ต่างกันมีความคิดเห็นต่อการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของศูนย์การศึกษาพิเศษเขตภาคเหนือตอนล่าง กลุ่ม 5 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

  3. ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของศูนย์การศึกษาพิเศษเขตภาคเหนือตอนล่าง กลุ่ม 5 ของผู้บริหาร ครู บุคลากร พบว่า 1)    ด้านทาน ต้องเป็นผู้ให้ มีความเสียสละ ให้เวลา อุทิศเวลาในการเอาใจใส่ ดูแลเด็กพิการ 2) ด้านปิยวาจา ต้องพูดจาไพเราะกับบุคคลที่เกี่ยวข้องอ่อนหวาน จริงใจ 3) ด้านอัตถจริยา ต้องมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย สงเคราะห์ผู้อื่นตามที่จะทำได้  4) ด้านสมานัตตตา ต้องมีสงเคราะห์ด้วยความเต็มใจ และทำให้เป็นประจำสม่ำเสมอ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). คู่มือการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม Early intervention : EI เด็กพิการสำหรับโรงเรียนเฉพาะความพิการและศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

2. กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). คู่มือการปฏิบัติงานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

3. กลุ่มการศึกษาสำหรับคนพิการ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2550). แนวทางการปฏิบัติงานของศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

4. ญาณิกา สุพล. (2554). “สภาพปัญหาการบริหารงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กพิการของศูนย์การศึกษาพิเศษ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนครพนม.

5. ญาณิศา เทียนงูเหลือม. (2556).“การศึกษาสภาพการปฏิบัติงานบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของครูในศูนย์การศึกษาพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง”. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.

6. พระครูอาทรปริยัตยานุกิจ (สุจิตฺโต/เพียรสองชั้น). (2555). “การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารงานบุคลากรโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด”. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

7. พระมหานภดล สีทอง. (2554). “ความสัมพันธ์ระหว่างคุณธรรมด้านสังควัตถุ 4 และขันติ-โสรัจจะกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การชองบุคลากร ศึกษาเฉพาะกรณีบุคลากรของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

8. พระสมสุกติสฺสวํโส (มโนธรรม). (2554). “การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารงานบุคลากร”. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

9.อำพร ราชติกา. (2551). “ปัจจัยที่ส่งผลต่องานบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของศูนย์การศึกษาพิเศษ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” รายงานการศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Krejcie.Robert V. & Morgan.Daryle W. (1970).“Determining Sample Size for Research Activitie”. Educational and Psychological Measureme, 30(3): 608.