สังคหวัตถุเพื่อการธำรงรักษาบุคลากร

Main Article Content

พระมหาสุเมฆ สมาหิโต (ทวีกุล)

บทคัดย่อ

การธำรงรักษาบุคลากรในองค์การเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะบุคลากรเป็นปัจจัยทางการบริหารที่เป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนองค์การในทุกๆ ด้าน โดยนับแต่บุคลากรทางการบริหารไปถึงบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน หากองค์การไม่สามารถที่จะธำรงรักษาบุคลากรไว้ได้ จะก่อให้เกิดความเสียหายเพราะจะทำให้กิจกรรมทุกอย่างที่กำลังขับเคลื่อนไปต้องหยุดชะงัก ก่อเกิดความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจ ความเชื่อมั่น รวมทั้งภาพลักษณ์โดยรวมทั้งสิ้น


ปัจจุบันทุกองค์การมีการทุ่มเทสรรพกำลังในการที่จะธำรงรักษาบุคลากรไว้ด้วยแนวคิดต่าง ๆ ซึ่งปลายทางของแนวคิดต่างมีเป้าหมายเดียวกัน คือ การทำให้บุคลากรทำงานอย่างมีความสุขและจงรักภักดีต่อองค์การ แต่เรื่องที่มีความสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือ ทุกองค์การสามารถครองตัวบุคลากรได้ แต่จะได้นานแค่ไหนขึ้นอยู่กับว่าจะครองใจเขาได้เพียงไร ในพระพุทธศาสนามีหลักธรรมในการยึดเหนี่ยวใจของบุคคลให้อยู่กับองค์การ คือ สังคหวัตถุ 4 อันประกอบด้วย 1) โอบอ้อมอารี 2) วจีไพเราะ 3)สงเคราะห์ผู้คน และ 4) วางตนเหมาะสม นับว่าเป็นหลักธรรมที่ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญ เพราะหากปฏิบัติได้ตามหลักธรรมนี้ย่อมครองใจบุคลากรและสามารถที่จะธำรงรักษาบุคลากรไว้ได้อย่างยาวนาน บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมในการธำรงรักษาบุคลากรขององค์การ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

1. Abranam H Maslow. (1968). "A Theory of Human Motivation". Psychological Review.

2. Aonsiri Katsripong, (2007). “Bases of sympathy 4: Organizational culture that facilitates knowledge management”. Productivity World journal to increase productivity. Vol 12 No.68 (May-June).

3. Cheerapan Tanmanee. (2011). Retention of personnel. Bangkok: Dasco Co., Ltd.

4. Cheewasin Sirichindawirot.(2013). Employee retention Guidelines for Kitchen Staff of Anantara BangkokRiverside resort and spa. Research Articles, Master of Business Administration. Kasembundit University.

5. Herzberg. F.. Barnard. M.and synderman. (1959). B. The Motivation to work. New York John Wiley.

6. Kanyarat Teetanachigun. (2014). Human Resource Management. Bangkok: S. Asia Press (1989) Co., Ltd.

7. Khanachanhaengrongpimliangchiang. (2007). Buddhist Proverb Volume 1 Standard Edition. Bangkok: Liangchiang Printing house.

8. Narong Santong. (2004). “Factor important to success to maintain personnel long live and work well”, Journal of Personnel Management. No. 1/2547: 63-65.

9. Payom Wongsarasree. (2011). Human Resource Management. Faculty of Management Science Suan Dusit University. Bangkok: Supaprinting Co., Ltd.

10. Phra Brahmagunabhorn (P. A. Payutto). (2007). Statute of life. 82nd edition. Bangkok: Pimsuay Co., Ltd.

11. Samit Satchukon. (2007). Maintaining good quality personnel. [Online]. source:http:// www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=348 &pageid= 2&read=true&count=true. [March 25].

12. Thanchanok Srisawat. (2013). “A Study of Guidelines for Maintaining High Performance Personnel:Case Study of Civil Service Office”. Academic Services Journal. Prince of Songkla University. 24th year 3rd edition July - September 2013.

13. Wanlapha Khommapat. (2011). “Factors affecting human resource retention of companies in lam chabang industrial estate sri rachi Chon Buri province”. Master Thesis. Burapha University.

14. Waraphot Butsaracamwadee. (2009). Organization and Management. Pathum Thani: Valaya Alongkorn Rajabhat University.

15. Wirat Wiratniphawan. (2009). Management Administration of State Agencies: Comparative Analysis of Indicators. Bangkok: Frophet Publisher.