การจัดการความรู้ และองค์กรแห่งการเรียนรู้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การจัดการความรู้และองค์กรแห่งการเรียนรู้การจัดการความรู้เป็นแนวคิดของการบริหารจัดการสมัยใหม่ที่เห็นคุณค่าของบุคลากรในองค์กรว่าเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า ทั้งนี้ เนื่องจากกระแสของการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกซึ่งเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยุคนี้ยังเป็นยุคของเศรษฐกิจฐานความรู้ องค์กรสมัยใหม่จึงจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ และบุคลากรทุกคนในองค์กรจะต้องมีความสามารถทุก ๆ ด้าน การจัดการความรู้จึงมีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงในองค์กร โดยมีการกล่าวถึงความสำคัญของการจัดการความรู้ บทความวิชาการนี้มุ่งศึกษา ความหมายของการจัดการความรู้ องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ กระบวนการจัดการความรู้ ประโยชน์ของการจัดการความรู้ ปัญหาและอุปสรรคของการจัดการความรู้การปรับเปลี่ยนและการจัดการพฤติกรรม การสื่อสารในองค์กร การพัฒนากระบวนการและเครื่องมือ ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่ช่วยให้การจัดการความรู้ประสบความสำเร็จและพัฒนาองค์กรสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
2. สมบัติ กุสุมาวลี. (2547). “การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ ไปเพื่ออะไร”. โครงการบัณฑิตศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. ประชาชาติธุรกิจ. วันที่ 16 ธันวาคม. ปีที่ 28 ฉบับที่ 3645: 6.
3. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2558). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: www.royin.go.th. (1 เมษายน 2561).
4. ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช.(2551). การจัดการความรู้ ฉบับนักปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 4 . กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.
5. สำนักงาน ก.พ.ร. และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2548). คู่มือการจัดทำแผนการจัดการความรู้ : จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. (เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2548).
6. พรธิดา วิเชียรปัญญา. (2558). “แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการความรู้”. [ออนไลน์] . แหล่งที่มา www.udru.ac.th/website/attachments/elearning/10/02.pdf . (12 พฤศจิกายน 2561).
7. บุญดี บุญญากิจ. (2553). “การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ”. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.
8. วีรวุธ มาฆะศิรานนท์. (2542). “องค์กรเรียนรู้สู่องค์กรอัจฉริยะ”. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท.