การพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักพุทธศาสนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผู้นำองค์กรต่าง ๆ พึงศึกษาภาวะผู้นำทั้งในทางคดีโลกและคดีธรรมแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในความเป็นผู้นำที่ทันสมัยและรู้ทันโลกอยู่เสมอผู้นำที่ดี พึงรู้จักบุคคล กลุ่มคน บริษัท องค์กร เพื่อกำหนดสถานการณ์ต่าง ๆ ให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ขององค์กรที่ตนบริหารจัดการ และหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการใช้คนอันไม่เหมาะแก่งาน แม้เรื่องเล็กน้อย ผู้นำพึงตระหนักเช่นเดียวกัน เลือกใช้บุคคลแต่ละจริตให้เหมาะสม ควรแก้ด้วยการสาธิตงานหรือมีผู้ช่วยทำงานและทำงานเป็นกลุ่ม (Team Works) เพื่อลดปัญหาความไม่เข้าใจในการทำงานผู้นำที่ดี พึงเรียนรู้ศาสตร์สมัยใหม่ให้รู้เท่าทันเครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ การพัฒนาภาวะผู้นำจะต้องคำนึงถึงหลักการเปลี่ยนแปลงหรือตื่นตัวอยู่ตลอดเวลามีความกระตือรือร้นทันต่อเหตุการณ์มองภาพลักษณ์องค์กรไปข้างหน้ามีการวางแผนเป็นทีมและตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน พร้อมจะเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัยทันต่อเหตุการณ์เป็นนักวิสัยทัศน์ หรือนักชี้ทิศทาง ผู้นำสามารถมองถึงอนาคตข้างหน้าได้ รู้กลไกลเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม สามารถนำพาองค์กรไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ตอลดจนเป็นนักสร้างแรงบันดาลใจต้องเป็นตัวอย่างและแบบอย่างที่ดีได้ มีผลงานเป็นที่ประจักษ์สร้างความน่าเชื่อถือ มีชื่อเสียงทางด้านการบริหารองค์กรที่โดดเด่น เคารพการตัดสินใจผู้ตามยึดเสียงข้างมากเป็นหลัก มีความซื่อสัตย์เป็นที่ตั้ง ภาวะผู้นำตามหลักพุทธศาสนา คือ คุณสมบัติ เช่น สติ ปัญญา ความดีงาม ความรู้ ความสามารถของบุคคลที่ชักนำให้คนทั้งหลายมาประสานกันและพากันไปสู่จุดมุ่งหมายที่ดีงามในอัคคัญสูตรโดยกล่าวถึงความเป็นอยู่ของสังคมมนุษย์ที่มาอยู่รวมกันเป็นสังคมที่สงบสุขไม่มีการแก่งแย่งเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน เพราะมีความอุดมสมบูรณ์ ยึดหลักธรรมคำสอนทางด้านศาสนามาปกครองมีหลักศีลธรรมอยู่บนพื้นฐานในการนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายที่ได้ร่วมกันกำหนดขึ้นมา
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
2. ทองอินทร์ วงศ์โสธร. (2544). หลักและระบบบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 15. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,.
3. ธงชัย สิงอุดม. (2548). “บทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาการศึกษา : กรณีศึกษาพระพุทธิรังสี”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
4. นงลักษณ์ สุทธิวัฒนพันธ์. (2544). พัฒนาบุคลิกผู้นำและนักบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพ.
5. พัชรี ชำนาญศิลป์. (2557). “การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารวิทยาลัยการอาชีพเขตภาคเหนือตอนล่าง”. ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
6. พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
7. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). ภาวะผู้นำ : ความสำคัญต่อการพัฒนาคน พัฒนาประเทศ. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.
8. พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี. (2552). ภาวะผู้นำจากเนลสัน มันเดลา ถึง โอบามาแห่งทำเนียบขาว. สถาบันวิมุตตยาลัย : เนื่องในโอกาสได้รับถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา วันที่ 9 ธันวาคม.
9. อุทัย หิรัญโต. (2520). ศิลปะศาสตร์ของนักบริหาร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
10. เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2530). การบริหารทักษะและการปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: รุ่งเรืองการการพิมพ์.