ประสิทธิผลการจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลต่อประสิทธิผลการจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ และ 3) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับประสิทธิผลการจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ สำรวจกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 383 คน จากสมาชิกทั้งหมด 8,928 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มโควตา คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.845 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติพรรณนาที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างจึงทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 9 รูป/คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง (Structured Interview Form) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
- ระดับความคิดเห็นของสมาชิกที่มีต่อประสิทธิผลการจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ในภาพรวม พบว่าอยู่ในระดับมาก (= 3.59 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลการจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ทุกด้านอยู่ในระดับมากโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านประสิทธิผลด้านกระบวนการภายใน (= 3.65) ด้านประสิทธิผลด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (= 3.59) ด้านประสิทธิผลด้านการเงิน ( = 3.58) ด้านประสิทธิผลด้านผู้รับบริการ (= 3.54) ตามลำดับ
- ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของสมาชิกที่มีต่อประสิทธิผลการจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า สมาชิกที่มี เพศ ระดับการศึกษา อายุ สถานภาพ อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และวัตถุประสงค์ในการขอกู้ยืม ต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย
- ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะจากการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ปัญหาอุปสรรค ได้แก่ 1) บริบทพื้นที่ท้องถิ่นนั้น ๆ มีประเพณีวัฒนธรรมมีแนวคิดต่างกัน 2) สมาชิกและคณะกรรมการไม่ทำตามกฎระเบียนข้อบังคับของกองทุนหมู่บ้าน ชอบทำตามใจตนเอง 3) เมื่อถึงกำหนดส่งคืนชำระเงินคืนให้กับกองทุน สมาชิกไม่นำเงินมาคืนตามที่แจ้งให้สมาชิกทราบล่วงหน้า 15 วัน และ 4) คณะกรรมการไม่มีการปรึกษาหาหรือกับสมาชิก เพื่อให้รับทราบปัญหาต่าง ๆ
ข้อเสนอแนะ ได้แก่ 1. ให้มีการศึกษามีความรู้ในบริบทพื้นที่ท้องถิ่นนั้น ๆ ว่าเขามีประเพณีวัฒนธรรมมีแนวคิดแบบไหนอย่างไรให้นำมาศึกษาเรียนรู้แล้วนำมาพัฒนา ต่อไปเพื่อความสำเร็จ 2. สมาชิกและคณะกรรมการจะต้องทำตามกฎระเบียนข้อบังคับของกองทุน ไม่ใช้ทำตามใจตนเอง จะต้องเป็นคนมีพรหมวิหารธรรมคุณธรรมจริยธรรม 3. เมื่อถึงกำหนดส่งคืนชำระเงินคืนให้กับกองทุนสมาชิกก็จะนำเงินมาคืนตามที่แจ้งให้สมาชิกทราบล่วงหน้า และ 4. สมาชิกและคณะกรรมการเข้ามาปรึกษาหาหรือกัน เพื่อให้รับทราบปัญหาต่าง ๆ เพื่อจะหาทางแก้ไขแสดงความคิดเห็น เพื่อที่จะให้กองทุนดำเนินงานต่อไปได้
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
2. แบบรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ของของประชาชนระดับหมู่บ้านอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ข้อมูลเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน 2558.
3. ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดนครสวรรค์. “การปกครองส่วนภูมิภาค อำเภอท่าตะโก”. 8 พฤศจิกายน 2558.
4. ประมวลแนวทางการดำเนินงานกองทุนชุมชนเรื่องกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง สำนักงานพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน, 2554.
5. พระมหาเนรมิต จิตฺตญาโณ (ปั้นส่ง). (2557). “ประสิทธิผลการบริหารงานของเทศบาลเมืองอรัญญิก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
6. ฐิติพร สะสม. (2553). “ศึกษาระบบการบริหารและการจัดการวัดในพระพุทธศาสนา กรณีศึกษา : วัดพระธาตุแช่แห้ง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
7. พระครูวิสุทธานันทคุณ (ครุฑธา). (2554). “การบริหารจัดการวัดเขาช่องพราน จังหวัดราชบุรี”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
8. พัชรี ศรสุรินทร์. (2556). “การบริหารจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
9. พัชรินทร์ แจ้งอิ่ม. (2556). “การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูตามหลักภาวนา 4 ในเขตอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.