สมรรถนะการปฏิบัติงานของครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี

Main Article Content

พระครูอุเทศธรรมปรีชา (โสภณ/อหึสโก)

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะการปฏิบัติงานของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูที่มีต่อสมรรถนะของครูพระสอนศีลธรรมในการปฏิบัติงานในโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประศึกษาอุทัยธานี จำแนกตามสถานภาพทั่วไป และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประศึกษาอุทัยธานี ซึ่งการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ใช้วิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Methods Research) ระหว่างเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปการวิจัยทางสังคมศาสตร์


ผลการวิจัยพบว่า


  1. สมรรถนะการปฏิบัติงานของครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี พบว่า สมรรถนะการปฏิบัติงานของครูสอนศีลธรรมในโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี โดยภาพรวม มีระดับสมรรถนะการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละด้าน พบว่า ด้านสื่อการเรียนการสอน มีระดับสมรรถนะการปฏิบัติงานอยู่ในระดับน้อย ส่วนในด้านที่เหลืออื่น ๆ มีระดับสมรรถนะการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง

  2. การเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี โดยจำแนกตาม ตำแหน่ง ระดับการศึกษา อายุ และประสบการณ์การสอน พบว่า ระดับความคิดเห็นที่มีต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี ไม่แตกต่างกันจึงปฏิเสธสมมติฐานที่วางไว้

  3. แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี สามารถแยกรายด้านมีรายละเอียดดังนี้ คือ1) ด้านเนื้อหาหลักสูตรควรจัดหลักสูตรเสริมภายในโรงเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน ควรจัดการเรียนการสอนให้หลากหลาย ไม่ควรอยู่แต่ในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว 3) ด้านสื่อการเรียนการสอน ควรใช้สื่อการเรียนการสอนที่หลากหลาย ทันสมัย เช่น โปรเจคเตอร์ เพื่อชักจูงความสนใจของผู้เรียนให้มากกว่านี้ ด้านการวัดและประเมินผล สมควรประเมินผู้เรียนหลาย ๆ ด้าน เช่น ความรู้ ความประพฤติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมวิชาการ. (2545). “การจัดสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา”. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.

2. คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). สำนักงาน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 พุทธศักราช 2545 - 2549 กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พริกหวานกราฟฟิค.

3. พระครูวรดิตถานุยุต (สังเวย คเวสโก). (2554). “ความคิดเห็นของครูและนักเรียนต่อบทบาทครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม”. วิทยานิพนธ์ตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

4. พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ. (2553). การความคิดเห็นของครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนผู้บริหารสถานศึกษาครูและนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานโครงการครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 5. พิษณุโลก: โรงพิมพ์ เชนปริ้นติ้ง.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนศีลธรรมในสถานศึกษา กรณีศึกษากรุงเทพมหานครและปริมณฑล กรุงเทพมหานคร. ผลงานวิจัยของสภาการศึกษา.

5. Krejcie. R.V..and Morgan D.W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities.” Psycholological measurement. 30(3): 607-610.

6. Wool. S. and Sullivan. D. (2996). The United States magazine and Democratic review. New York: Kettell & Moore.