การบริหารงานตามหลักทศพิธราชธรรมของ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการบริหารงานตามหลักทศพิธราชธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักทศพิธราชธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ในการบริหารงานตามหลักทศพิธราชธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 382 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) ค่าเอฟ (F-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way anova) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยมีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth.Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 7 รูปหรือคน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
- ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักทศพิธราชธรรม ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (=3.82) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า ด้านทาน ด้านศีล ด้านปริจจาคะ ด้านอาชชวะ ด้านมัททวะ ด้านตปะ ด้านอักโกธะ ด้านอวิหิงสา ด้านขันติ และด้านอวิโรธนะ อยู่ในระดับมากทุกด้าน
- การเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักทศพิธราชธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส อาชีพ และรายได้ต่อเดือนต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักทศพิธราชธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์โดยรวมไม่แตกต่างกันจึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้
- ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ในการบริหารงานตามหลักทศพิธราชธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า แต่ละด้านที่มีปัญหามากที่สุด ดังนี้ ด้านทาน คือ ปัญหาความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ จึงควรมีการปลูกฝังจิตสำนึกให้เกิดความเสียสละ มีจิตสาธารณะ ด้านศีล มากที่สุด คือ ปัญหาการกำหนดลงโทษอย่างยุติธรรม จึงควรมีการฝึกปฏิบัติรักษาศีลเบื้องต้น ด้านปริจจาคะ มากที่สุด คือ ปัญหาการปรับเปลี่ยนโยกย้ายอย่างเหมาะสม จึงควรมีการทำให้ผู้อื่นได้เห็นประโยชน์แห่งการเสียสละส่วนตน ด้านอาชชวะ มากที่สุด คือ ปัญหาการมีมนุษยสัมพันธ์อันดีต่อประชาชน จึงควรการประชาสัมพันธ์ชี้แจงต่อสาธารณชน ด้านมัททวะ มากที่สุด คือ ปัญหาการใช้ชีวิตความเป็นอยู่อย่างพอเพียง จึงควรเน้นหลักการสร้างไมตรี รักษาน้ำใจให้เกียรติซึ่งกันและกัน ด้านตปะ มากที่สุด คือ ปัญหาการโลภในผลประโยชน์ที่มิพึงจะได้ จึงควรมีความอดทน อดกลั้นในการทำงาน ด้านอักโกธะ มากที่สุด คือ ปัญหาการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา จึงควรรู้จักให้อภัยซึ่งกันและกัน ด้านอวิหิงสา มากที่สุด คือ ปัญหาการช่วยเหลือสังคมตามกำลังความสามารถ จึงควรมีการวางแผน ประชุม ปรึกษาหารือ ถึงประโยชน์และผลกระทบต่าง ๆ ด้านขันติ มากที่สุด คือ ปัญหาการบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม จึงควรต้องมีความอดทน อดกลั้น ด้านอวิโรธนะ มากที่สุด คือ ปัญหาความพยายามแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี จึงควรวางตัวเป็นกลาง ปราศจากอคติ
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
2. ดำรง คุ้มพาล และคนอื่น ๆ. (2552). พฤติกรรมการบริหารงานบุคคลตามหลักทศพิธราชธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2. (สารนิพนธ์สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
3. พระมหาสัญญา เชื้อคนหมั้น. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแนวทศพิธราชธรรมกับการบริหารตามแนวพระพุทธศาสนา ของผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษารัฐบาล ในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
4. พระวราวุฒิ มหาวโร. (2556). การปฏิบัติงานตามหลักทศพิธราชธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบล เขวาทุ่ง อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
5. ภานุพล ภูษา. (2554). ทศพิธราชธรรมกับการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบล: ศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบลบางเพรียง อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
6. อนุภูมิ โซวเกษม. (2554). การศึกษาแนวทางการใช้หลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริการจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลเขตพื้นที่อำเภอสองพี่สอง จังหวัดสุพรรณบุรี. (รายงานการวิจัย). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.