กระบวนการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาตามวงจร PDCA ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Main Article Content

บดินทร์ภัทร์ สายบุตร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 2. พัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาตามวงจร PDCA ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ 3. นำเสนอกระบวนการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาตามวงจร PDCA ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ  การวิจัยเชิงปริมาณใช้การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจและใช้แบบสอบถามในการเก็บรบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 191 รูปหรือคน ซึ่งเป็นตัวแทนบุคลากรสายวิชาการในสังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 11 แห่ง จำนวน 365 รูปหรือคน การวิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนาในการคำนวณค่าเฉลี่ยความคิดเห็น () และการกระจายความเห็นด้วยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) จากนั้นนำข้อมูลที่ได้ไปทำการเก็บข้อมูลเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาจากการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 7 รูป แล้วนำมาสังเคราะห์เพื่อหาข้อสรุปในรูปแบบที่เป็นกระบวนการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาตามวงจร PDCA


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ระดับความคิดเห็นที่มีต่อการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน

  2. การพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาตามวงจร PDCA ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น ทั้งด้านการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ การทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และการบริหารจัดการที่จะต้องมีการวางแผน ปฏิบัติการ การตรวจสอบ และปรับปรุงแก้ไข

  3. กระบวนการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาตามวงจร PDCA จะต้องมีการพัฒนาระบบการวางแผน การพัฒนาระบบปฏิบัติการ การพัฒนาระบบตรวจสอบ และการพัฒนาปรับปรุงแก้ไขในทุกกระบวนการและขั้นตอนในการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ การทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และการบริหารจัดการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. เกษราตรี ไพชยนต์ศักดิ์. (2556). การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสาขาวิชาในระดับบัณฑิตวิทยาลัย. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

2. พรบุญมี วรัญญากรณ์โนใจ และอัมพร ยานะ. (2553). การรับรู้และการมีส่วนร่วมของนักศึกษาต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาวิทยาลัยพยาบาลพระบรมราชชนนีพะเยา. (รายงานการวิจัย). พะเยา: วิทยาลัยพยาบาลพระบรมราชชนนีพะเยา.

3. ภาวนา กิตติวิมลชัย และคณะ. (2551). ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยขอนแก่น. (รายงานวิจัย). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

4. สุดีพร ฉันท์เฉลิมพงศ์. (2553). การรับรู้และการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของบุคลากรสังกัดหน่วยงานคณะมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี. (รายงานการวิจัย). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

5. สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2539). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2540-2544). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

6. สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2544). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2545-2549). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

7. สำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

8. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2554). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2553. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

9. อาภรณ์ พลเยี่ยม. (2542). การศึกษาการดำเนินการตามนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.