รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพสุขภาวะในองค์กรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาวะในองค์กรกับประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3. สร้างรูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธีประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพการวิจัยเชิงปริมาณใช้การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจและใช้แบบสอบถามในการเก็บรบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ใช้สูตรของ Taro Yamane ได้ขนาดตัวอย่างจำนวน 216 รูปหรือคน ซึ่งเป็นตัวแทนบุคลากรในสังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือระดับวิทยาเขต 5 แห่ง จำนวน 467 รูปหรือคน การวิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนาในการคำนวณค่าเฉลี่ยความคิดเห็น () และการกระจายความเห็นด้วยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและสภาพทั่วไปของสุขภาวะในองค์กร โดยใช้เทคนิคไคสแคว์ และหาสหสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและสุขภาวะองค์กร 5 ด้าน ด้วยค่าสัมประสิทธิสัมพันธ์ของเพียร์สัน จากนั้นนำผลลัพธ์ที่ได้ไปออกแบบสัมภาษณ์ แล้วจึงสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 7 รูป นำข้อมูลมาสังเคราะห์เพื่อหาข้อสรุปรูปแบบการสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กรที่จะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากร
ผลการวิจัยพบว่า
- ระดับความคิดเห็นที่มีต่อสภาพสุขภาวะในองค์กรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (= 3.78) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้าน อยู่ในระดับมาก ขณะที่ระดับความคิดเห็นที่มีต่อประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก (= 3.91) และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านก็ยังพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน
- ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาวะในองค์กรกับประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า สุขภาวะในองค์กรในละแต่ด้าน โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์หรือส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงมาก (R = 0.860**)
- รูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพใน พบว่า 1) ด้านวินัยในการทำงานองค์กรจะต้องสร้างมาตรฐานในการปฏิบัติงานบนพื้นฐานของกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน 2) ในด้านความรับผิดชอบจะต้องปลูกจิตสำนึกให้เกิดความรักในหน้าที่การงานและทำงานที่ตนเองชอบหรือถนัด 3) ด้านมนุษย์สัมพันธ์จะต้องปลูกจิตสำนึกให้เกิดความรักความปรารถนาดีต่อกัน การมีส่วนร่วม และการทำงานเป็นทีม และ 4) ด้านความคิดสร้างสรรค์จะต้องปลูกจิตสำนึกประชาธิปไตยในองค์กรเคารพสิทธิเสรีภาพและรับฟังกันมากขึ้นจึงจะทำให้ความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้น
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
2. สำนักวิจัยสถาบันราชภัฏสวนดุสิต. (2546). การศึกษาประสิทธิภาพของบัณฑิตสถาบันราชภัฏสวนดุสิต. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: เนติกุลการพิมพ์.
3. สุรพงษ์ ภิยโยภาพ. (2546). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน. (ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
4. เอมิเร เลิฟวีย์. (กรกฎาคม 4, 2548). การเสริมสร้างสุขภาพองค์กรที่ดี. ประชาชาติธุรกิจ.
5. Gray, R. (2007). A Climate of Success. Oxford: Elsevier.
6. Martin. Angela J.; Jones. Elizabeth S. and Callan, Victor J. (2005). The Role of Psychological Climate in Facilitating Employee Adjustment During Organizational Change. European Journal of Work and Organizational Psychology, 14(3).