ประสิทธิภาพการบริหารจัดการวัดท่าซุง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับความคิดเห็นของผู้มาปฏิบัติธรรมต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการวัดท่าซุง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้มาปฏิบัติธรรมต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการวัดท่าซุง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล และ 3. ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะที่ได้จากผู้มาปฏิบัติธรรมเกี่ยวกับประสิทธิภาพการบริหารจัดการวัดท่าซุง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนที่มาปฏิบัติธรรมในวัดท่าซุง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี จำนวน 385 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอ้างอิงในการทดสอบสมมติฐานการวิจัย คือ t–test และ F–test ในการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบความแตกต่างความเห็นเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด ที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
- ความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติธรรมต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการวัดท่าซุง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ทั้งด้านการวางแผน (Planning) ด้านการจัดองค์การ (Organizing) ด้านการจัดบุคลากร (Staffing) ด้านการสั่งการ (Directing) ด้านการควบคุม (Controlling) พบว่าด้านการควบคุมและด้านการวางแผน อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านการจัดองค์การ ด้านการจัดบุคลากรและด้านการสั่งการ อยู่ในระดับมาก
- ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติธรรมต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการวัดท่าซุง อำเภอเมืองจังหวัดอุทัยธานี จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า ผู้ปฏิบัติธรรมมีเพศ อายุ แตกต่างกัน มีความคิดเห็นไม่ต่างแตกกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนผู้ปฏิบัติธรรมที่มีวุฒิการศึกษา อาชีพและประสบการณ์การเข้าวัด แตกต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
- ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะที่ได้จากผู้มาปฏิบัติธรรมเกี่ยวกับประสิทธิภาพการบริหารจัดการวัดท่าซุง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี พบว่า วัดมีขนาดใหญ่มาก ทำให้มีบุคลากรไม่เพียงพอกับปริมาณงาน จึงควรประกาศรับสมัครจิตอาสาล่วงหน้า เพื่อจะได้มีผู้ช่วยมากขึ้น และการสื่อสารมีรูปแบบไม่ชัดเจน ควรใช้การสื่อสารทั้งในรูปแบบการสั่งด้วยวาจา การสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร และมีการนำระบบไลน์มาใช้ในการสั่งการ
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
2. พระเครื่องดีวัดท่าซุง: การบริหารจัดการ. (2560). ท่าซุงกับการบริหารจัดการ. เข้าถึงได้จาก https://www.พระเครื่องดี.com.
3. พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีการบริหาร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
4. พระมหากมล ขนฺติธโร. (2550). ประสิทธิภาพการบริหารงานคณะสงฆ์ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
5. พระมหาบุญเรือง ปัญฺญาธโร. (2552). ความคิดเห็นของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่มีต่อการบริหารวัดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
6. พระสมุห์มงคล สุมงฺคโล. (2556). ความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชนต่อการบริหารงานวัดทวีพูลรังสรรค์. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
7. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
8. แม่ชีทัศนีย์ อาจบุตร. (2558). จำนวนผู้ปฏิบัติธรรมช่วงระหว่างเดือน มิ.ย.-ส.ค. 2558. วัดจันทาราม (ท่าซุง) ข้อมูล ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน. (อัดสำเนา)