การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุธรรมของสถานีตำรวจภูธรสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

สุอาภา คล่องกระแสสินธุ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนที่ใช้บริการต่อการบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุธรรมของสถานีตำรวจภูธรสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ 2. เปรียบเทียบศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่ใช้บริการต่อการบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุธรรมของสถานีตำรวจภูธรสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ และ 3. ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของประชาชนที่ใช้บริการเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุธรรมของสถานีตำรวจภูธรสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ศึกษาวิจัยโดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่เคยมาใช้บริการกับสถานีตำรวจภูธรสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 398 คน ซึ่งใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้เป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ แบบสอบถามปลายเปิด ใช้สถิติพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูลคำนวณ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างความคิดเห็นโดยการทดสอบ ค่าที (t-test) และการทดสอบ ค่าเอฟ (F-test) โดยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และใช้ Least Significant Difference (LSD) ในการเปรียบเทียบผลต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของประชากรครั้งละคู่สำหรับตัวแปรที่แบ่งเป็น 3 กลุ่มขึ้นไป  สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview กับผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 9 คน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาประกอบบริบท


ผลการศึกษาพบว่า


  1. ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุธรรมของสถานีตำรวจภูธรสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.86 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านได้แก่ด้าน ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และด้านสมานัตตตาอยู่ในระดับมาก

  2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนชนต่อการบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุธรรมของสถานีตำรวจภูธรสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่าประชาชนมีเพศ อายุ วุฒิการศึกษา อาชีพ รายได้และประสบการณ์ในการใช้บริการต่างกัน มีความคิดเห็นไม่ต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานวิจัย

  3. ผลการศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุธรรมของสถานีตำรวจภูธรสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ได้แก่ ประชาชนมีความคาดหวังการบริการที่ดีเมื่อต้องติดต่อใช้บริการของสถานีตำรวจ การให้บริการที่ล่าช้าของข้าราชการตำรวจ การพูดจากับผู้ใช้บริการไม่สุภาพ ข้าราชการตำรวจยังไม่มีการบำเพ็ญประโยชน์ต่อประชาชนเท่าที่ควร มีความเสียสละ เอื้อเฟื้อน้อย มีการเลือกปฏิบัติไม่เท่าเทียมและไม่เสมอภาค ไม่มีการจัดลำดับคิว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กองบรรณาธิการ. (2555). 13 ตุลาฯ วันตำรวจไทย. ตำรวจเพื่อมวลชน, 1(2).

2. เทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย. (2558). ข้อมูลจากใบรับรองของท้องถิ่นเทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย. ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2558. (อัดสำเนา)

3. ชัยรัตน์ ลีลาพันธุ์. (2548). ประสบการณ์ กต.ตร.สน. นครบาลวันนี้, 2(1).

4. ชินวุฒิ ตั้งวงษ์เลิศ. (2550). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการในสถานีตำรวจในเขตพื้นที่กองบังคับการตำรวจนครบาล 9. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

5. ดนัย วงศ์อมรอัครพันธ์. (2553). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของสภาทนายความ ตามหลักสังคหวัตถุ 4. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

6. ปัณณธร เธียรชยพฤกษ์. (2552). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 เพื่อสร้างความผูกพันต่อองค์การ: กรณีศึกษาโรงพยาบาลกรุงเทพ. (วิทยานิพนธ์พุทธศาตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

7. พฤกษา พุทธรักษ์. (2552). การบริหารจัดการสหกรณ์การเกษตรตามหลักสังคหวัตถุ 4: กรณีศึกษาสหกรณ์การเกษตรในเขตจังหวัดนครนายก. (วิทยานิพนธ์พุทธศาตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

8. พ.ต.ท.สมศักดิ์ ณ โมรา. (2560). ตำรวจที่ดี มีคุณภาพที่ประชาชนต้องการ. เข้าถึงได้จาก http://www. หลักสูตร.com.