คิดอย่างปราชญ์ กระบวนการวิภาษวิธี : โสเครตีส

Main Article Content

สุทน ทองเล็ก

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปรัชญาของโสเครตีส 2. ศึกษาแนวคิดของโสเครตีส และ 3. เพื่อศึกษากระบวนการวิภาษวิธี โดยทำการศึกษาจากเอกสารปฐมภูมิ และตำราวิชาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และนำข้อมูลมาวิเคราะห์สรุปผลในเชิงพรรณา


ผลการศึกษาพบว่า


  1. ปรัชญาของโสเครตีส ได้แก่ ราชาปราชญ์ เป็นผู้ปกครองที่ดี ปราชญ์เป็นบุคคลที่มีความรู้ เป็นบุคคลที่มีคุณธรรม และส่งเสริมให้ประชาชนทำดี

  2. แนวคิดของโสเครตีส ได้แก่ ปัญญา (Wisdoms) หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับความดี ความกล้าหาญ (Courage) หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เราควรกลัวและไม่ควรกลัว ควบคุมตนเอง (Temperance) หมายถึง การมีชีวิตตามทำนองคลองธรรมคุณงามแห่งความดี และความยุติธรรม (Justice) หมายถึง การแสดงออกในรูปของการกระทำที่เคารพสิทธิของคนอื่น และการไม่ยอมทำความชั่วต่อผู้อื่น

  3. กระบวนการวิภาษวิธี (Dialectic) หลักการที่สำคัญของกระบวนการนี้คือ การนำข้อเสนอที่มีเหตุผล (Thesis) และข้อคัดค้าน (Antithesis) มาหักล้างกัน หลักการนำไปใช้ ค. ย่อมาจาก คิด หมายถึง การคิดคำนึงหารายละเอียดประเด็นต่าง ๆ ของปัญหา ว. ย่อมาจาก วิเคราะห์ หมายถึง การพิจารณาประเด็นต่าง ๆ ว่ารายละเอียดต่าง ๆ นั้นถูกต้องหรือไม่อย่างไร ย. ย่อมาจาก แยกแยะ หมายถึง การแตกรายละเอียดออกไปเป็นส่วน ๆ และจัดกลุ่มในกลุ่มที่มีประเด็นลักษณะเดียวกัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

1. โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. (2559). โสเครติสกับกฎหมาย. มติชนออนไลน์. เข้าถึงได้จาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_118695

2. ธันวา ศรีประโมง (2562). ฝันร้ายของโสเครติส และฝันร้ายของพ่อแม่สมัยใหม่กับลูกหลานแห่งยุคเครือข่ายสังคม. เข้าถึงได้จาก http://www.eng.mut.ac.th/article_ detail. php?id =84 .

3. สมบัติ จันทรวงค์. (2520). ทฤษฏีการเมืองตะวันตก เล่มหนึ่ง สมัยโบราณ และยุคกลาง. สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์ไทยวัฒนพานิช จำกัด.

4. Husnana11. (2562). โสเครตีส. เข้าถึงได้จาก http://husnana11.blogspot.com/.