วิถีการดำเนินชีวิตผู้สูงอายุตามหลักพุทธธรรม

Main Article Content

พระครูสิริภูรินิทัศน์ (ภูริณัฐ ดิษสวรรค์)

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีการดำเนินชีวิตผู้สูงอายุตามหลักพุทธธรรม พบว่า ปัจจุบันประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก สภาพของสังคมไทยและสังคมต่างชาติทั่วโลกไม่ได้ให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ และมีการทอดทิ้งผู้สูงอายุกันมาก การเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบันทำให้วิถีชีวิตของผู้สูงอายุต้องเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพที่เป็นอยู่ จึงทำให้เกิดปัญหาทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสุขภาพ การใช้ชีวิตของผู้สูงอายุในปัจจุบันส่วนใหญ่มีปัญหาค่อนข้างมาก อันเนื่องมาจากหลายปัจจัย จึงจำเป็นต้องมีแนวทางเพื่อนำมาพัฒนาผู้สูงอายุให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสม สิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ สุขภาพของผู้สูงอายุ สิ่งที่ช่วยให้ผู้สูงอายุมีความสุขคือ คนในครอบครัว นอกจากนี้คำสอนในทางพระพุทธศาสนา สอนให้รู้จักธรรมชาติของชีวิตให้รู้จักตนเอง พิจารณาแก้ไขตนเองด้วยหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าเรียกว่าหลักธรรม โดยการใช้หลักธรรมเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตเรียกว่า ทิฏฐิธัมมิกัตถะ พึงดำรงตนอยู่ในหลักธรรมที่เหมาะสมแก่ตนเอง ใช้การดำเนินชีวิตตามหลักไตรสิกขา นำหลักธรรมมาส่งเสริมและแก้ไขปัญหาวิถีชีวิตของผู้สูงอายุให้เกิดความสงบสุข ร่มเย็น เพื่อเป็นการดับทุกข์ทางกาย ทางจิตใจ ด้านสุขภาพ ก่อให้เกิดความสุขสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

1. ธันวา บัวมี. (2561). แนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหนองน้อยอำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท. ในโครงการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17 “บูรณาการงานวิจัยสู่การพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน”, เข้าถึงได้จาก http://gnru2017.psru.ac.th/ proceeding/538-25600830154316.pdf.

2. พระครูภาวนาโพธิคุณ. (2552). ศึกษาตีความสุขภาวะองค์รวมวิถีพุทธ. วารสารพุทธศาสตร์-ปรัชญาปริทรรศน์, 2(1).

3. พระธรรมกิตติวงศ์. (2550). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุดศัพท์วิเคราะห์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง.

4. พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). ทุกข์สำหรับเห็น แต่สุขสำหรับเป็น (แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา). (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: ธรรมสาร จำกัด.

5. พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม). (ม.ป.ป.). หลักประกันชีวิต ทุกลมหายใจใช้เวลาให้เป็นประโยชน์. กรุงเทพฯ: สถาบันบันลือธรรม.

6. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2557). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 22). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

7. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2557). พุทธธรรม (ฉบับปรับปรุงและขยายความ). (พิมพ์ครั้งที่ 39). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

8. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2549). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

9. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2548). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ, พุทธจักร, 59(11).

10. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2559). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.).

11. ศรีเรือน แก้วกังวาน. (2540). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

12. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2561). ปี 61 ไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ. เข้าถึงได้จาก https://bangkok-today.com/web/.

13. Phra Brahmagunabhorn (P. A. Payutto). (2016). Psychology in Human Development. The Natural Way. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

14. World Health Organization (WHO). (2014). World Health Statistics 2014. Geneva: WHO.