พุทธธรรมนำจิตใจผู้สูงวัยมีสุข

Main Article Content

พระครูสิริภูรินิทัศน์ (ภูริณัฐ ดิษสวรรค์)

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพุทธธรรมนำจิตใจผู้สูงวัยมีสุข พบว่า การเปลี่ยนแปลงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการแพทย์และสาธารณสุข จึงทำให้มนุษย์มีอายุยืนมากขึ้น องค์การอนามัยโลกได้กำหนดตกลงไว้ที่เกณฑ์อายุ 60 ปีขึ้นไปซึ่งเป็นเกณฑ์อายุเริ่มต้นเข้าสู่ผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้สูงมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้กำลังประสพปัญหาหลายด้าน ตั้งแต่ด้านสุขภาพ การต้องพลัดพรากเมื่อสามีหรือภรรยาตายจากกัน และต้องต่อสู้กับความเหงาและสภาพการอยู่คนเดียว ปัญหาที่สำคัญของผู้สูงอายุเกิดจากด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคมและการอยูjร่วมกัน และด้านเศรษฐกิจและรายได้ นอกจากนี้ การที่ผู้สูงอายุจะดำเนินชีวิตร่วมกันกับสมาชิกในครอบครัวและอยู่กับสังคมอย่างมีความสุขทางใจได้นั้น ต้องให้ผู้สูงอายุรู้จักปรับตัวในการเตรียมความพร้อม จากประเด็นปัญหา วิธีการแก้ไขปัญหาประการหนึ่งคือ การนำหลักพุทธธรรมอัน ได้แก่หลักคำสอนหรือแนวคิดทางพระพุทธศาสนามาเป็น หลักในการดำเนินชีวิต เพราะหลักการดำเนินชีวิตในทาง พระพุทธศาสนา มีหลักคำสอนที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัยของบุคคล หลักพุทธธรรมจะส่งเสริมให้บุคคลรู้จักช่วยตนเอง ยอมรับศักยภาพของมนุษย์ในการแก้ไขปัญหา ตลอดจนให้รู้จักในเงื่อนไข เหตุปัจจัยและวิธีการซึ่งมีขั้นตอนครบถ้วน หลักพุทธธรรมเพื่อการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุอยู่ในสังคมที่เป็นกัลยาณมิตร นำหลักสัปปายะทั้ง 7 มาประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อให้การครองตนในครอบครัวและสังคมของผู้สูงอายุดำเนินไปอย่างราบรื่นและอยู่กับสังคมอย่างมีความสุข

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

1. เกษม ตันติผลาชีวะ และกุลยา ตันติผลาชีวะ. (2548). การรักษาสุขภาพในวัยผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

2. จรัสวรรณ เทียนประภาส และพัชรี ตันศิริ. (2536). การพยาบาลผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล.

3. จิตสังคมผู้สูงอายุ. (2561). การสร้างความสุขในผู้สูงอายุ. เข้าถึงได้จาก http://www.stou.ac. th/stoukc/elder/main1_9.html.

4. ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2547). พระพุทธศาสนากับปัญหาสังคม. ปทุมธานี: โรงพิมพ์บริษัทสื่อ ตะวัน จำกัด.

5. นิศา ชูโต. (2548). การวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: พริ้นติ้ง.

6. บรรลุ ศิริพานิช. (2538). คู่มือผู้สูงอายุ ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์หมอชาวบ้าน.

7. พงษ์ วรพงศ์พิเชษฐ. (2550). พุทธธรรมบำบัด. กรุงเทพฯ: กองแพทย์ทางเลือก กรมการพัฒนาแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.

8. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 34). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสันติเพื่อการศึกษา.

9. ศรีทับทิม พานิชพันธ์. (2541). ความรู้เบื้องต้นทางสังคมสงเคราะห์. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

10. ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ. (2550). สถิติพื้นฐานเพื่องานวิจัยท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

11. Cowgill, D. O. (1986). Aging Around the World, Belmont. Ca.: Wadsworth.

12. Pender, Nola J. (1987). Health promotion in nursing practice. (2nd ed). Norwalk, Conn: Appleton & Lange.

13.Phrapalad Somchai Payogo and Uthai Sudsukh. (2015). Buddhist Integration of Caring for Chronic Diseases in Thai Society. Journal of MCU Peace Studies. 3(2).

14. Snoddon, J. (2010). Case management of long-term conditions: principles and practice for nurses. Massachusetts: Blackwell.

15. WHO. (2014). Global Status Report on No communicable Diseases 2014. Geneva: WHO.