การจัดการเครือข่ายวัฒนธรรมเชิงพุทธของคณะสงฆ์จังหวัดนครพนม เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับประชาคมอาเซียน

Main Article Content

พระมหาชุติภัค อภินนฺโท (แหมทอง)
รัตติยา เหนืออำนาจ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพการจัดการเครือข่ายวัฒนธรรมของคณะสงฆ์จังหวัดนครพนม 2. สร้างแบบจำลองการจัดการเครือข่ายวัฒนธรรมเชิงพุทธของคณะสงฆ์จังหวัดนครพนม และ 3. พัฒนารูปแบบการจัดการเครือข่ายวัฒนธรรมเชิงพุทธของคณะสงฆ์จังหวัดนครพนมในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับประชาคมอาเซียน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยเป็นการศึกษาทั้งเอกสาร การศึกษาในเชิงปริมาณ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการแจกแบบสอบถามจากพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดนครพนม และการวิจัยคุณภาพ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ระดับความคิดเห็นของพระสังฆาธิการที่มีต่อการจัดการเครือข่ายวัฒนธรรมของคณะสงฆ์จังหวัดนครพนม ในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเฉพาะในด้านการเสริมสร้างซึ่งกันและกันที่มีคะแนนในอันดับสูงสุด รองลงมาคือด้านการปฏิสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยน ด้านการพึ่งพิงอิงร่วมกัน ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน ด้านการเกิดผลประโยชน์และความสนใจร่วมกัน ด้านการมีส่วนร่วมของเครือข่ายอย่างกว้างขวาง และด้านการรับรู้มุมมองร่วมกันตามลำดับ

  2. แบบจำลองการจัดการเครือข่ายวัฒนธรรมเชิงพุทธของคณะสงฆ์จังหวัดนครพนม นอกจากจะประกอบด้วย 7 มิติสำคัญข้างต้นแล้วยังมีภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีการดำเนินชีวิต วิถีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศาสนพิธี และความเป็นพุทธบริษัท 4 ที่สะท้อนผ่านการบริหารจัดการเรื่องระบบและโครงสร้างองค์กร แผนยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์องค์กร การแสวงหาความร่วมมือ การมีส่วนหรือทีมงาน การเสริมสร้างแรงจูงใจ องค์การแห่งการเรียนรู้ และศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีระดับชุมชน

  3. การจัดการเครือข่ายวัฒนธรรมเชิงพุทธของคณะสงฆ์จังหวัดนครพนมเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับประชาคมอาเซียน จะต้องมีการประยุกต์ใช้หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น อริยมรรค สังคหวัตถุธรรม สาราณียธรรม ทุติยปาปณิกธรรม สัปปุริสธรรม อปริหานิยธรรม อิทธิบาทธรรม พรหมวิหารธรรม คารวะธรรม กัลยาณมิตรธรรม และหลักธรรมอื่น ๆ เพื่อให้การบริหารจัดการเครือข่ายวัฒนธรรมเกิดความราบรื่นและยั่งยืนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ต่อจรัส พงษ์สาลี. (2547). พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในประเทศไทยกับบทบาทของวัดในฐานะสื่อกลางในการฟื้นฟูวัฒนธรรมระดับท้องถิ่น มุมมองจากการทบทวนประวัติศาสตร์และพัฒนาการของงานพิพิธภณฑสถานไทย. (รายงานวิจัย). ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร: องค์การมหาชน.
2. นงเยาว์ หลีพันธ์. (2547). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กในจังหวัดจันทบุรี, กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.

3. นฤมล นิราทร. (2543). การสร้างเครือข่ายการทำงาน: ข้อควรพิจารณา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

4. นิรันดร์ จงวุฒิเวศ. (2527). กลวิธีแนวทางวิธีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนาชุมชนในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ: ศูนย์การศึกษานโยบายสาธารณสุขมหาวิทยาลัยมหิดล.

5. นําชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล และคณะ. (2557). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมตามค่านิยมและวัฒนธรรมไทยอย่างยั่งยืนด้วยการสังเคราะห์งานวิจัย. (รายงานวิจัย). สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

6. ภัสวลี นิติเกษตรสุนทร และคณะ. (2551). การมีส่วนร่วมของเครือข่ายวัฒนธรรมและชุมชนในการบริหารจัดการวัฒนธรรม. (รายงานวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ: กระทรวงวัฒนธรรม.

7. ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2546). หลักการพัฒนาชุมชนและหลักการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: ไทยอนุเคราะห์ไทย.

8. วรชัย วิภูอุปรโคตร และคณะ. (2560). รูปแบบเครือข่ายมหาวิทยาลัยในการบรรลุผลประโยชน์ร่วมกันของการพัฒนาภูมิภาคสู่ประชาคมอาเซียน. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences). (10)1.

9. อุดม จูมพลหล้า และคณะ. (2550). วัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาในวิถีชีวิตของคนไทยแถบ
ลุ่มแม่น้ำโขงในประเทศไทย. (รายงานวิจัย). ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม: โรงเรียนเทคนิคภูพานบริหารธุรกิจ.