การพัฒนาแหล่งเรียนรู้เชิงภูมิศาสตร์การท่องเที่ยวในพื้นที่มรดกโลกห้วยขาแข้ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบท และสภาพปัญหา ส่งเสริมการพัฒนา และนำเสนอแนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เชิงภูมิศาสตร์ในพื้นมรดกโลกห้วยขาแข้ง ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยกระบวนการมีส่วนร่วม เป็นรูปแบบวิจัยเชิงเอกสาร และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม โดยทำการเลือกชุมชนแนวเขตป่ากันชน จำนวน 8 ชุมชน จากลักษณะความโดดเด่นของเขตพื้นที่ ที่มีอาณาบริเวณติดกับพื้นที่มรดกโลกห้วยขาแข้ง 0 กิโลเมตร ประชากรกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 24 คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 4 กลุ่ม 32 รูป/คน
ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนบริเวณโดยรอบเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เป็นชุมชนที่มีลักษณะเป็นชุมชนผสมผสาน มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ชาวบ้านมีประวัติการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าในระดับหนึ่งผ่านมิติของวัฒนธรรม ประเพณีพิธีกรรม และความเชื่อต่าง ๆ ก่อให้เกิดกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรอย่างต่อเนื่อง โดยมีการร่วมมือกันโดยการสร้างเครือข่าย ในการทำงานร่วมกันของ หน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชน และประชาชนในพื้นที่ โดยหน่วยงานรัฐทำหน้าที่เป็นหลักในการ จัดโครงการให้ความรู้กับประชาชน เพื่อพูดคุย และวางกติกาข้อตกลงร่วมกัน ในการใช้ทรัพยากรจากป่า เพื่อลดความขัดแย้ง และปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น การพัฒนาแหล่งเรียนรู้เชิงภูมิศาสตร์การท่องเที่ยวในมรดกโลกห้วยขาแข้ง มีความสอดคล้องกับแนวคิดความสำคัญของภูมิศาสตร์ ทำให้ชาวบ้านมีทัศนคติที่ดีต่อการอนุรักษ์ และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างเหมาะสม และเห็นความสำคัญของการรักษาสภาพแวดล้อม เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง จนเกิดเป็นความตระหนักในความสำคัญต่อสิ่งนั้นหรือเรื่องนั้นโดยเฉพาะขึ้น นำไปสู่แนวทาง ดังนี้ 1. การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดจิตสำนึกต่อการรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน 2. การท่องเที่ยวเชิงเกษตร เป็นการท่องเที่ยวที่สามารถดึงดูดความสนใจนักท่องเที่ยว และเป็นการสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร 3. การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมเป็นการท่องเที่ยวเพื่อการชมหรือสัมผัส ศิลปวัฒนธรรมแขนงต่าง ๆ รวมทั้งงานเทศกาล ประเพณี 4. การท่องเที่ยวเชิงชาติพันธ์ และวัฒนธรรมพื้นถิ่น เป็นการท่องเที่ยวเพื่อแสวงหา การสัมผัสโดยตรงกับคนที่มีเชื้อชาติ และภูมิหลังทางวัฒนธรรมที่แตกต่างไป ไม่ใช่การสัมผัสผ่านสิ่งประดิษฐ์ทางวัฒนธรรม และ 5. การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เป็นการท่องเที่ยวเพื่อบำบัดโรค บำรุงสุขภาพกาย หรือสุขภาพจิต ดึงดูดใจทางการท่องเที่ยวที่ธรรมชาติให้มา ชมความงามตามธรรมชาติ ที่ประชาชนในชุมชนได้เข้าไปดำเนินกิจกรรมในชุมชน กำหนดปัญหา และความต้องการ เพื่อร่วมปฏิบัติกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหา ร่วมติดตามประเมินผลกิจกรรม และร่วมรับผลกระทบที่เกิดจากกิจกรรมนั้น
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
2. วีระยา โอชะกุล. (2560, 22 พฤษภาคม). บริบทและสภาพปัญหาแหล่งเรียนรู้เชิงภูมิศาสตร์ในพื้นที่มรดกโลกห้วยขาแข้ง. (นายประคอง มาโต, ผู้สัมภาษณ์).
3. สมบัติ ชูมา. (2560, 22 พฤษภาคม). บริบทและสภาพปัญหาแหล่งเรียนรู้เชิงภูมิศาสตร์ในพื้นที่มรดกโลกห้วยขาแข้ง. (นายประคอง มาโต, ผู้สัมภาษณ์).
4. อรนุช ศิลป์ มณีพันธ์. (2547). ลักษณะชายฝั่งทะเลที่พึงประสงค์ของนักท่องเทียวบริเวณชายฝั่ง ทะเลประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. สาขาวิชาภูมิศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
5. Burke, A. (1999). Communications & Development: a practical guide. London: Social Development Division Department for International Development.