หลักพุทธธรรมกับกลยุทธ์การบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลงขององค์กร
Main Article Content
บทคัดย่อ
สภาพแวดล้อมที่เกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพราะโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคของข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี ซึ่งทำให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและการคาดการณ์เพื่อเตรียมวางแผนไว้ล่วงหน้าทำได้ยากขึ้น การกำหนดกลยุทธ์การบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลงในองค์กร (Strategic change management in the organization) ในยุคปัจจุบันมีความสำคัญมาก เป็นเรื่องที่ท้าทายเป็นอย่างยิ่ง เพราะทุกสิ่งเป็นเรื่องไม่แน่นอนในสังคมมนุษย์ตามหลักพุทธธรรม สรรพสิ่งทั้งหลาย คือ ความไม่เที่ยง ทุกอย่างเป็น อนิจจัง หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นองค์กรจะดำรงค์อยู่ได้ต่อไปอย่างยั้งยืน จำต้องมีการกำหนดกลยุทธ์การบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลงในองค์กรที่เหมาะสม โดยกลยุทธ์จะเป็นตัวขับเคลื่อนกำหนดทิศทางการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ และพันธกิจขององค์กร ตามหลักรัฐประศาสนศาสตร์ โดยจะต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคคลในองค์การทุกคน และผู้บริหารต้องมีทักษะ ความรอบครอบในการจัดการ ความยืดหยุ่น และการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์ (Strategies) กลวิธี (Tactics) ที่เหมาะสมในการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับองค์กร ทั้งปัจจัยภายนอกและภายในองค์กร กล่าวถึงกลยุทธ์การบริหารการเปลี่ยนแปลง 8 ประการของ John P Kotter ซึ่งเกิดขึ้นจากนักวิชาการทางซีกโลกตะวันตกไม่ถึง100ปี กับการบูรณาการหลักสัปปุริสธรรม 7 ประการตามหลักพุทธธรรม ซึ่งเกิดขึ้นจากหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากกว่า2,600 ปีมาแล้ว
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กนก แสนประเสริฐ. (2559). หลักการบริหารงานสมัยใหม่กับหลักการบริหารงานเชิงพุทธศาสตร์เพื่อความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา. เข้าถึงได้จาก http://www.onab.go.th/articles
กฤษดา พัฒนพงษ์ไพบูลย์. (2560). รูปแบบการพัฒนาสโมสรฟุตบอลอาชีพให้เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพ. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, 12(1).
นฤมล ราชบุรี. (2557). สัปปุริสธรรม 7: แนวคิดเชิงบูรณาการเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืน. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 1(1).
เนตรชนก วิภาตะศิลปิน. (2559). พุทธปรัชญาการศึกษากับการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 3(3).
พระปลัดเกษฎา มหาปญฺโญ (ผาทอง) และคณะ. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาประชาธิปไตยและกระบวนการประชาสังคมไทยภายใต้กระบวนทัศน์หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 16(2).
พระมหาสมบัติ ธนปญฺโญ (ฉลอง) และบรรจบ บรรณรุจิ. (2557). ยุทธศาสตร์เชิงพุทธสำหรับผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา”. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 1(2).
มลวิภา สิขเรศ. (2559). การบริหารสถานศึกษาเชิงพุทธบูรณาการของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 3(1).
ละอองทิพย์ บุณยเกียรติ. (2556). แปดขั้นตอนสู่ความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลง John P Kotter. เข้าถึงได้จาก https://www.gotoknow.org/posts/548847.
สนั่น เถาชารี. (2551). การจัดการองค์กรเชิงกลยุทธ์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน. Industrial Technology Review, 14(185).
Suriyon Noisangoun. (2561). The Administration Model for Public Works of Thai Sangha Council in Srisaket Province. Journal of MCU Peace Studies, 6(3).