องค์การแห่งการเรียนรู้ : การเรียนรู้จากการปฏิบัติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์การแห่งการเรียนรู้: การเรียนรู้จากการปฏิบัติ พบว่า ในสถานการณ์ปัจจุบัน องค์การต่าง ๆ มีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง และมีวิธีการรูปแบบใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่เสมอ ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมขององค์การอย่างถาวร อันเนื่องมาจากการฝึกหัดหรือประสบการณ์ของแต่ละบุคคลให้เกิดขึ้นกับบุคลากรซึ่งมีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จขององค์การ เน้นการทำงานทีม มีความคล่องตัว รวดเร็ว โดยรูปแบบของการเรียนรู้ที่ได้รับการยอมรับว่าสามารถสร้างให้ผู้เรียนรู้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิผลวิธีการหนึ่งคือ การเรียนรู้ที่เรียกว่าการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning) วิธีการเรียนรูจากการปฏิบัติ (Action Learning - AL) เป็นวิธีการที่นิยมใช้ในการพัฒนาองค์การ (Organization Development – OD) วิธีการนี้อยู่ภายใต้แนวคิดที่ว่า “การกระทำกับการเรียนรู้ ต้องเกิดควบคู่กันไป” เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติที่อาศัยประสบการณ์ ความรู้ มุมมองที่กลุ่มหรือบุคคลมีจากการซักถาม และแลกเปลี่ยนความเห็น ซึ่งนำไปสู่ทางออกใหม่ๆ ที่แตกต่าง นำความรู้มาคิดใคร่ครวญและแลกเปลี่ยนถ่ายทอดแก่กัน สร้างประโยชน์ให้กับตน ทีม และองค์การ
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
2. วรวรรณ วาณิชย์เจริญชัย. (2548). การพัฒนาระบบการสร้างความรู้ด้วยวิธีการเรียนรู้เป็นทีมสำหรับอาจารย์พยาบาลในสถาบันอุดมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
3. วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. (2543). การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ธีระป้อมวรรณกรรม.
4. Inglis S. (1994). Making the most of action learning. Hampshire: Gower Publishing Limited.
5. Marquardt M.J. (1999). Action learning in action: Transforming problems and people for world-class organization learning. Palo Alto: Davies-Black.
6. Marquardt M.J. (2002). Building the Learning Organization: Mastering the 5 Elements for Corporate Learning. Palo Alto: Davies-Black.
7. McGill, I. and Beaty, L. (1995). Action Learning. London: Kokan Page.