กษัตริย์ในอุดมคติตามแนวคิดในมหาภารตะและรามายณะที่ปรากฏในจารึกแม่บุญตะวันออกและจารึกแปรรูปของพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะความเป็นกษัตริย์ในอุดมคติตามแนวคิดในมหาภารตะและรามายณะที่ปรากฏในจารึกแม่บุญตะวันออกและจารึกแปรรูปของพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 โดยศึกษาจากเนื้อหาที่กวีได้ใช้ตัวละครจากมหาภารตะและรามายณะเพื่อเปรียบกับพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 ว่าสะท้อนความเป็นกษัตริย์ในอุดมคติด้านใดบ้าง ผลการศึกษาพบว่า เนื้อความในจารึกทั้งสองหลักที่กวีนำตัวละครจากมหาภารตะและรามายณะมาเปรียบเทียบกับพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 นั้นสะท้อนให้เห็นลักษณะเด่น 3 ด้าน คือ (1) ความเป็นกษัตริย์นักรบ (2) ความเป็นกษัตริย์นักปกครอง และ (3) ความเป็นกษัตริย์ผู้ทรงธรรม อันแสดงให้เห็นถึงลักษณะความเป็นกษัตริย์ในอุดมคติตามแนวคิดในมหาภารตะและรามายณะ ซึ่งอาจเกิดจากบริบทด้านเมืองหรือการสงครามในสมัยพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 กวีจึงอ้างถึงตัวละครจากวรรณคดีทั้งสองเรื่องที่มุ่งเน้นการรบเพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์อันสูงส่งให้แก่สถาบันกษัตริย์
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
2. จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา. (2561). “รามายณะในประเทศไทย”. เอกสารประกอบโครงการบริการวิชาการ 2561 เรื่องอิทธิพลวรรณคดีสันสกฤตในวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์สันสกฤตศึกษาและภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
3. จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา และอุเทน วงศ์สถิตย์. (2557). จารึกหันไชย: การศึกษาด้วยทฤษฎีอลังการ. (รายงานการวิจัย). ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
4. ชะเอม แก้วคล้าย. (2543). จารึกปราสาทแปรรูป. กรุงเทพฯ: หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร.
5. นิพัทธ์ แย้มเดช. (2558). การศึกษาอลังการในจารึกปราสาทตาพรหมของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
6. __________. (2559ก). จารึกปราสาทตาพรหม: ความสัมพันธ์ระหว่างขนบจารึกสดุดีกษัตริย์กับการสรรเสริญพระเจ้าชัยวรมันที่ 7. วารสารไทยคดีศึกษา, 13(1).
7. __________. (2559ข). อิทธิพลความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์วรรณคดีไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 1(3).
8. ปัทมา ทีฆประเสริฐกุลและชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (2554). การสร้างภาพลักษณ์สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถในยวนพ่ายโคลงดั้นด้วยการใช้ข้อมูลวรรณคดี. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 36(2).
9. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2484). บ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระจันทร์. (พิมพ์แจกในงานพระราชเพลิงศพคุณหญิงราชอักษร (เจือ อัศวรักษ์) ต.จ. ณ เมรุวัดประยูรวงศาวาส วันที่ 16 มกราคม 2484).
10. พระมหาปราโมทย์ แก้วนา. (2558). การศึกษาวิเคราะห์จารึกแม่บุญตะวันออก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาสันสกฤต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
11. มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์. (2547). “มหาจักรพรรดิราช”. มณีปิ่นนิพนธ์ รวมบทความด้านภาษา วรรณคดี และวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทแอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด.
12. __________. (2560). “วรรณคดีสันสกฤต: ต้นทางวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติไทย”. โสรมสรวงศิรธิรางค์ วรรณคดีเฉลิมพระเกียรติ สมัยสุโขทัยและอยุธยาตอนต้น. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.
13. มัทนียา มาลาทอง. (2557). ฉันท์อัษฎาพานร: ความสัมพันธ์กับพระมหากษัตริย์. วารสารดำรงวิชาการ, 13(2).
14. วิสุทธ์ บุษยกุล. (2554). “ชื่อบุคคลสำคัญจากมหาภารตะในเรื่องยวนพ่าย”. วิสุทธอักษร. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง.
15. สุภัทรดิศ ดิศกุล. (2560). ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ. 2000. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตร์ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.
16. __________. (2532). 600 ปี แห่งพระประวัติเมืองพระนครของขอม. ศิลปวัฒนธรรม, 10(6).
17. อภินันท์ สงเคราะห์. (2544). สถาบันกษัตริย์เขมรโบราณจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
18. อุไรศรี วรศะริน. (2545). ประชุมอรรถบทเขมร รวมบทความวิชาการของศาสตราจารย์เกียรติ-คุณ ดร.อุไรศรี วรศะริน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. (พิมพ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.อุไรศรี วรศะริน 8 ตุลาคม 2545)
19. Kaunteya, B. (2019). Sanskrit Inscription of Ancient Cambodia. Retrieved from http://www.iskconcambodia.com/2013/01/18/sanskrit-inscription-of-ancient-cambodia/.
20. Mani, Vettam. (1984). Puranic Encyclopaedia: a comprehensive dictionary with special reference to the Epic and Puranic literature. Delhi: Motilal Barnasidass.
21. Sharan, M. K. (1981). Select Cambodian Inscriptions (The Mebon And Pre Rup Inscriptions of Rajendravarman II). New Delhi: S.N. Publications.