คุณลักษณะภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมของนักเรียนปกครองหลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานตำรวจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

Main Article Content

ตวิษา คุ้มเฟื่อง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับคุณลักษณะภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมของนักเรียนปกครอง หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานตำรวจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และ 2. ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณลักษณะภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมของนักเรียนปกครอง หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานตำรวจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยใช้แบบสอบถามกับนักเรียนปกครองหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานตำรวจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำนวน 100 คน จากประชากรทั้งหมด 100 คน โดยหาค่าความถี่ และร้อยละ หาค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) วิเคราะห์โดยการทดสอบค่าที (t-test) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


ผลการวิจัย พบว่า


  1.  ระดับคุณลักษณะภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมของนักเรียนปกครอง หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานตำรวจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 3.83, S.D. = 0.47) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่ค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรก คือ ด้านความยุติธรรม อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 4.01, S.D. = 0.67) รองลงมาด้านความน่ารัก อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 3.99, S.D. = 0.67) รองลงมาด้านความอดทนต่อถ้อยคำ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 3.94, S.D. = 0.62)

  2.  ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณลักษณะภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมของนักเรียนปกครองหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานตำรวจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา พบว่า ทุกตัวมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) และเป็นความสัมพันธ์ทางบวก แสดงว่า ความสัมพันธ์ของตัวแปรทุกตัวเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กันสูงสุดคือ น่าเคารพ และไม่ชักนำ โดยมีขนาดความสัมพันธ์กันค่อนข้างสูง (r = .724) แสดงว่า เมื่อนักศึกษามีความน่าเคารพเพิ่มขึ้นก็จะมีความไม่ชักนำเพิ่มขึ้นด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ชัยวุฒิ วรพินธุ์. (2557). คุณลักษณะภาวะผู้นำยุคใหม่กับสมรรถนะการบริหารงานแบบมืออาชีพของปลัดเทศบาลในภาคกลาง. วารสารสมาคมนักวิจัย, 19(1).

2. พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2542). ผู้นำ. กรุงเทพฯ: พิฆเณศพริ้งเซ็นเตอร์.

3. พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2544). การพัฒนาที่ยั่งยืน. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: เรือนแก้ว.

4. ภาระดี มหาขันธ์. (2532). พื้นฐานอารยธรรมไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

5. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

6. สุภัททา ปิณฑะแพทย์. (2562). ภาวะผู้นำของนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. เข้าถึงได้จาก http://www.supatta.haysamy.com/leader_pro.html.