แนวทางการจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในตำบลล้อมแรด อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง

Main Article Content

อาทิตย์ เจมส์ ปองงาม
พระเทพปริยัติเมธี ญาณสิทธิพัฒน์
อมลวรรณ อบสิน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนากับหลักสัมมัปปธาน 4 ในตำบลล้อมแรด อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง และ 2. นำเสนอแนวทางการจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในตำบลล้อมแรด อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจจากแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง 390 คน สุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน และทดสอบสมมติฐาน โดยวิเคราะห์การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า


1. หลักสัมมัปปธาน 4 มีความสัมพันธ์กับการจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในตำบลล้อมแรด อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าความสัมพันธ์กันในทางบวกหรือมีความสัมพันธ์กันในลักษณะที่คล้อยตามกันเป็นคู่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูงมาก Pearson Correlation(r) (0.84) เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละด้าน พบว่าคู่ของด้านความดึงดูดใจของนักท่องเที่ยวกับด้านการเข้าใจถึงแหล่งท่องเที่ยว มีค่าความสัมพันธ์สูงที่สุด (r = 0.86) รองลงมา คือ คู่ของด้านสิ่งอำนวยความสะดวกกับด้านบริการเสริม (r =0.81) และค่าที่น้อยที่สุดคือ คู่ด้านด้านบริการเสริมที่คนในท่องถิ่นเป็นผู้จัดหาขึ้นมาเองกับด้านปหานปธาน (r =0.61)


2. แนวทางการจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในตำบลล้อมแรด อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย คือ ด้านความดึงดูดใจของนักท่องเที่ยว มีแนวทางการจัดการการดูแลไม่ให้เกิดความเสียหายตามหลักธรรมสัมมัปปธาน 4 ไม่รื้อถอนเพื่อสร้างของใหม่ และอนุรักษ์เอกลักษณ์ประเพณีท้องถิ่น ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว มีแนวทางการจัดการการดูแลไม่ให้เกิดความเสียหายตามหลักธรรมสัมมัปปธาน 4 ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก มีแนวทางการจัดการการดูแลไม่ให้เกิดความเสียหายตามหลักธรรมสัมมัปปธาน 4 การเตรียมพร้อมในการต้อนรับนักท่องเที่ยว จัดเตรียมงาน และตกแต่งสถานที่ ตามเอกลักษณ์ประเพณีท้องถิ่น ด้านบริการเสริมที่คนในท้องถิ่นเป็นผู้จัดหาขึ้นมาเอง มีแนวทางการจัดการการดูแลไม่ให้เกิดความเสียหายตามหลักธรรมสัมมัปปธาน 4 โดยเน้นสร้างการมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยวในกิจกรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ภูเดช แสนสา. (2558). ประวัติศาสตร์เมืองเถิน. เชียงใหม่: โรงพิมพ์แม็กพริ้นติ้งเชียงใหม่.

2. นิลรัตน์ กลิ่นจันทร์ และคณะ. (2552). การศึกษาศาสนสถานที่สําคัญต่อการอนุรักษ์ การท่องเที่ยว ของวัด ในกรุงเทพมหานคร. (รายงานวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

3. นิลรัตน์ กลิ่นจันทร์ และคณะ. (2555). กระบวนการจัดการพุทธสถานเพื่อการท่องเที่ยวของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (รายงานวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

4. พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น) และคณะ. (2556). การพัฒนารูปแบบและกระบวนการจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย. (รายงานวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และสำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

5. สำนักปลัดเทศบาล. (2559). แผนยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ. เอกสารประกอบการประชุม. เทศบาลตำบลล้อมแรด อ.เถิน จ.ลำปาง. เข้าถึงได้จาก http://www. lampangcity.go.th/userfiles/files/plan5.pdf.

6. Cooper, C., & Boniface, B. G. (1998). Geography of travel and tourism. UK: Butterworth Heinemann.