การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวในตำบลท่าฬ่อ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร

Main Article Content

พระสาธิต สุดเทศ
พระครูนิวิฐศีลขันธ์ เชื้อศรี
พระราชรัตนเวที โชติธมฺโม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวในตำบลท่าฬ่อ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง
การมีส่วนร่วมของชุมชนกับหลักอปริหานิยธรรม 7 และการจัดการท่องเที่ยวในตำบลท่าฬ่อ
อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร 3. นำเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวในตำบลท่าฬ่อ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง 372 คน วิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน
โดยวิเคราะห์การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 รูปหรือคน วิเคราะห์ผลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า


  1. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวในตำบลท่าฬ่อ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}= 4.30, S.D.=0.62) การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวตามหลักอปริหานิยธรรม 7 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}= 4.27, S.D.=0.58) และการจัดการท่องเที่ยว 5A’s ในตำบลท่าฬ่อ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}= 4.43, S.D.=0.58)

  2. ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของชุมชนกับหลักอปริหานิยธรรม 7 และการจัดการท่องเที่ยวในตำบลท่าฬ่ออำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.01 โดยมีค่าความสัมพันธ์กันในทางบวกหรือมีความสัมพันธ์กันในลักษณะที่คล้อยตามกันเป็นคู่โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง (Pearson Correlation (r) =0.74**)

  3. แนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวในตำบลท่าฬ่ออำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร พบว่า 1) ด้านสิ่งดึงดูดใจ ชุมชนควรมีส่วนร่วมสร้างแลนด์มาร์คในจุดท่องเที่ยวพัฒนาประเพณีวัฒนธรรมให้เด่นชัด รักษาความสะอาด และอำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการ2) ด้านการเข้าถึง ชุมชนควรมีส่วนร่วมจัดทำแผนที่เส้นทาง ประชาสัมพันธ์ ดูแลระบบสาธารณูปโภค ระบบอินเตอร์เน็ต และการปรับปรุงทัศนียภาพ 3) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ชุมชนควรมีส่วนร่วมจัดตั้งแหล่งให้ข้อมูลข่าวสาร ทำป้ายบอกเส้นทาง ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างทางลาด และห้องน้ำคนพิการ และจัดตั้งร้านขายของฝาก 4) ด้านที่พัก ชุมชนควรมีส่วนร่วมรักษาสิ่งแวดล้อมสร้างโฮมสเตย์แบบครัวเรือน รักษากลิ่นไอวิถีชีวิตความเป็นชนบท ดูแลความสะอาดในที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก 5) ด้านกิจกรรม ชุมชนควรมีส่วนร่วมจัดประชุมปรึกษากันมีการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี มีการสร้างความสามัคคี มีการประเมินผล และมีการจัดกิจกรรม ในขณะที่การนำหลักอปริหานิยธรรม 7 มาประยุกต์ใช้กับการมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาให้เกิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ มีความโดดเด่น และทำให้นักท่องเที่ยวอยากมาเที่ยวชมมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรกช ตราชู และคณะ. (2560). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บ้านด่านเกวียน อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารรัชต์ภาคย์ ฉบับพิเศษ ครบรอบ 23 ปี, 11(4).

2. กฤติยา สมศิลา และกนกกานต์ แก้วนุช. (2561). ปัจจัยการมีส่วนร่วมของชุมชนมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(1).

3. กันตภณ แก้วสง่า และคณะ. (2558). การจัดการความรู้การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี Suranaree Journal of Social Science, 9(2).

4. คมพล สุวรรณ และคณะ. (2561). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเพื่อการเสริมสร้างรายได้ภาคเกษตรกรรมในพื้นที่จังหวัดระยอง. (รายงานวิจัย). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สกว.: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

5. ธณัศวัล กุลศรี และคณะ. (2558). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์: กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์สิรินธร ตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขัน จังหวัดกาฬสินธุ์. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(3).

6. นพพร จันทรนำชู และคณะ. (2560). การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดกาญจนบุรี. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

7. นราวดี บัวขวัญ. (2556). รูปแบบการจัดการตลาดน้ำเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษาตลาดน้ำ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม) บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

8. นิลรัตน์ กลิ่นจันทร์ และคณะ. (2555). กระบวนการจัดการพุทธสถานเพื่อการท่องเที่ยวของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (รายงานวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

9. ปฐม หงส์สุวรรณ และคณะ. (2560). การจัดการหมู่บ้านต่อภาคอีสานเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดมหาสารคาม. (รายงานวิจัย). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมาหาสารคาม.

10. พรรณธิดา เหลาพวงศักดิ์ และคณะ. (2560). รูปแบบการท่องเที่ยวสำหรับการเรียนรู้วิถีเกษตรเพื่อยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดกาญจนบุรี. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาลัยเอเชียอาคเนย์.

11. พระพรหมคุณาภรณ์. (ป.อ. ปยุตฺโต). (2558). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 26). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เพ็ทแอนโฮม จำกัด.

12. สุพาดา สิริกุตตา. (2557). แนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มของแหล่งท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวของจังหวัดสิงห์บุรี ประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 17(1).

13. Cohen, J.M. and Uphoff, N.T. (1980). Participations Place in Rural Development: Seeking Clarity through Specificity. New York: World Developments.