การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมในเขตพื้นที่ สถานีตำรวจภูธรองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก

Main Article Content

มนทกานต์ ก่อเกิดบุญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม ในเขตพื้นที่สถานีตำรวจภูธรองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก และ 2. เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม ในเขตพื้นที่สถานีตำรวจภูธรองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในเขตเทศบาลอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก จำนวน 400 คน จากประชากรทั้งหมด 56,111 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกรณีตัวอย่าง 2 (t-test independent) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์


ผลการวิจัย พบว่า


  1. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม ในเขตพื้นที่สถานีตำรวจภูธรองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 3.59, S.D. = 0.60) และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรกคือ ด้านการหาแนวทางการป้องกันอาชญากรรม (gif.latex?\bar{X}= 4.00, S.D. = 0.65) อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ด้านการติดต่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ อยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X}= 3.43, S.D. = 0.80) รองลงมา คือ ด้านการป้องกันอาชญากรรม อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X} = 3.33, S.D. = 0.73)

  2. ผลการเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม ในเขตพื้นที่สถานีตำรวจภูธรองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มี อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่างกัน มีระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนประชาชนที่มี เพศ สถานภาพ ต่างกัน มีระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง. (2559). ยุทธศาสตร์แบบมีส่วนร่วมต่อการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมของสถานีตำรวจนครบาลในพื้นที่เขตบางแค. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, (5)1.

2. พัฒน์วิทย์ แสงมุกดำ. (2560). การมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมผ่านสื่อวิทยุจราจรเพื่อสังคม กรณีศึกษา: กลุ่มผู้ขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 11(24).

3. ไพโรจน์ โกษา. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมเชิงรุกในพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

4. สุวัตถิ์ ไกรสกุล และ จุฑาภรณ์ คงรักษ์กวิน. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในเขตพื้นที่สถานีตำรวจภูธรบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 5(1).

5. อรรถพงษ์ เฮงตระกูล. (2557). การมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมของประชาชนหมู่บ้านจัดสรร กรณีศึกษา: หมู่บ้านรนารมย์ และหมู่บ้านตะวันออก 5 อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

6. อุทิศ ศิริเม. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรโนนเจริญ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

7. Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rded). New York: Harper and Row Publications.