ภาพลักษณ์ของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก

Main Article Content

ศุภัสสร เอี่ยมยิ่ง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาภาพลักษณ์ของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก และ 2. ศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับภาพลักษณ์ของข้าราชการตำรวจ สถานีตำรวจภูธรองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตพื้นที่อำเภอองครักษ์ จำนวน 400 คน จากประชากรทั้งหมด จำนวน 56,111 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกรณี 2 ตัวอย่าง (t-test independent) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์


ผลการศึกษาพบว่า


  1. โดยภาพรวมของภาพลักษณ์ของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรองครักษ์ อยู่ระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 3.76, S.D. = 0.55) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทั้ง 4 ด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านบุคลิกภาพ (gif.latex?\bar{X}= 4.0, S.D. = 0.60) รองลงมาด้านการรักษาวินัย (gif.latex?\bar{X}= 3.95, S.D. = 0.68) รองลงมาด้านจริยธรรม (gif.latex?\bar{X} = 3.81, S.D. = 0.69) รองลงมาด้านความสัมพันธ์ (gif.latex?\bar{X} = 3.28, S.D. = 0.64) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านความสัมพันธ์ ( gif.latex?\bar{X}= 3.28, S.D. = 0.64) ตามลำดับ

  2.  ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นภาพลักษณ์ของข้าราชการตำรวจ ในเขตพื้นที่สถานีตำรวจภูธรองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าประชาชนที่มี เพศ อายุ สถานภาพ อาชีพ พบว่า ความคิดเห็นภาพลักษณ์ของข้าราชการตำรวจ ในเขตพื้นที่สถานีตำรวจภูธรองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชน ที่มี ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน มีความคิดเห็นภาพลักษณ์ของข้าราชการตำรวจ ในเขตพื้นที่สถานีตำรวจภูธรองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. โกวิท พิมลทีป. (2556). ภาพลักษณ์ของข้าราชการตำรวจในทัศนะของประชาชน: สถานีตำรวจภูธรเมืองชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

2. ชมชนม์ ทัสสะ. (2560). ภาพลักษณ์ของตำรวจปัจจุบันในสายตาประชาชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. (ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

3. สมพล จันทร์ประสกุล. (2551). ภาพลักษณ์ของข้าราชการตำรวจอำเภอเมือง จังหวัดน่าน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

4. สุจิตรา รัตนเจริญ. (2556). ภาพลักษณ์ของธนาคารออมสิน สาขาสามแยกสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. พิฆเนศวร์สาร, 9(2).

5. สุวิทย์ กัลลประวิทย์. (2559). ภาพลักษณ์ของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรบางบาล อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

6. อรนุช อักษร. (2560). ภาพลักษณ์ของพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ใช้บริการที่แผนกผู้ป่วยนอก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

7. Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rded). New York: Harper and Row Publications.