ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของตำรวจจราจรโครงการพระราชดำริ

Main Article Content

กัญญาณัฐ เจริญศิลป์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของตำรวจจราจรโครงการพระราชดำริ และ 2. เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของตำรวจจราจรโครงการพระราชดำริ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ตำรวจจราจรโครงการพระราชดำริ จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกรณีตัวอย่าง 2 กลุ่ม (t-test independent) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์


ผลการศึกษา พบว่า


1.ระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของตำรวจจราจรโครงการพระราชดำริ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=4.35, S.D.=0.39) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรก คือ ด้านความตระหนักถึงประโยชน์ส่วนรวมขององค์กร อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=4.39, S.D.=0.48) รองลงมา ด้านความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=4.38, S.D.=0.43) และด้านการทำงานเป็นทีม อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=4.38, S.D.=0.43)


2. ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของตำรวจจราจรโครงการพระราชดำริ เมื่อจำแนกปัจจัยส่วนบุคคลตาม ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการรับราชการ พบว่า ความแปรปรวนของกลุ่มตัวอย่างไม่แตกต่างกัน และเมื่อจำแนกปัจจัยส่วนบุคคลตาม อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า ความแปรปรวนของกลุ่มตัวอย่าง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กระปุกดอทคอม. (2558). เปิดที่มาตำรวจจราจรโครงการพระราชดำริ ภารกิจเพื่อรอยยิ้มประชาชน. เข้าถึงได้จาก https://www.hilight.kapook.com/view/114925.

2. เพลิงพยัคฆ์. (2559). จราจรในพระราชดำริ. เข้าถึงได้จาก https://www.thairath.co.th /content/756873.

3. มาชา แก้วทอง. (2556). ปัจจัยที่ทำให้ประชาชนมีความพึงพอใจในการใช้บริการเจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจภูธรหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

4. เรวัติ บุษยานุรักษ์. (2551). ระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของสถานีตำรวจภูธรโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

5. ศิวนารถ กิตติวัฒน์. (2551). การศึกษาทัศนคติของประชาชนต่อการให้บริการของตำรวจจราจรในเขตอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

6. เสรี คงยืนยง. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของตำรวจบ้านในพื้นที่กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

7. อนุชิต แย้มยืนยง. (2557). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ สถานีตำรวจภูธรเมืองตราด จังหวัดตราด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.