บทบาทคณะสงฆ์กับการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนผ่านเครือข่าย บวรในตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาองค์ประกอบของการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน 2. ศึกษาหลักบวรกับการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ และ 3. นำเสนอรูปแบบการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนผ่านเครือข่ายบวรในตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 27 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 รูปหรือคน และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม
ผลการวิจัยพบว่า
- องค์ประกอบของการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ประกอบด้วย ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านวัฒนธรรม และด้านผู้นำ
- หลักบวรกับการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ประกอบด้วย การสร้างการรับรู้ การสร้างการเรียนรู้ และการสร้างการจัดการเปลี่ยนแปลง
- รูปแบบการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนผ่านเครือข่ายบวรในตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ OFROS 1) องค์กร ประกอบด้วย ภาคประชาชน ภาครัฐ และภาคสังคม 2) องค์ประกอบของการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ประกอบด้วย ทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรม และทุนมนุษย์ 3) บทบาทในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ประกอบด้วย บทบาทในการสร้างการรับรู้ บทบาทในการสร้างการเรียนรู้ และบทบาทในการสร้างการจัดการเปลี่ยนแปลง 4) หลักการดำเนินงาน ประกอบด้วย สืบสาน รักษา ต่อยอด และการพัฒนาต่อเนื่อง 5) เงื่อนไขความสำเร็จ ประกอบด้วย จิตสำนึก จิตสาธารณะ และจิตอาสา
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
2. ดิเรก พรสีมาและคณะ. (2553). รายงานการวิจัยการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาสู่เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
3. ถาวร งามตระกูลชล. (2559). การปกครองท้องถิ่น: บทเรียนชุมชนเข้มแข็งประเทศญี่ปุ่น. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ครั้งที่ 8. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
4. ปราณี เกื้อทอง. (2545). บทบาทของพระสงฆ์ในงานพัฒนาชุมชน : ศึกษากรณีวัดในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี, (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
5. พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: เอส. อาร์. พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.
6. พระวัฒธยา ฐิติสมฺปนฺโน. (2560). ความร่วมมือของบ้าน วัด และโรงเรียน ในการพัฒนาสังคมอำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 2(3).
7. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
8. วชิราภรณ์ สุรธนะสกุล ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ และอัจฉรา ไชยูปถัมภ์. (2560). รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยวิทยาลัยชุมชน. วารสารวิจัย มสด สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(2).
9. สุปราณี จันทร์ส่ง บุญทัน ดอกไธสง สอาด บรรเจิดฤทธิ์ และบุญเรือง ศรีเหรัญ. (2558) . การพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(3).
10. Scott. J. (1990). A Matter of Record. Documentary Sources in Social Research. Cambridge: Polity Press.