ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการขับเคลื่อนหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ในจังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

พระราชรัตนเวที
จรูญศักดิ์ สุนทรเดชา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการขับเคลื่อนหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลในจังหวัดนครสวรรค์ และ 2. ตรวจสอบยืนยันโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการขับเคลื่อนหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลในจังหวัดนครสวรรค์กับข้อมูลเชิงประจักษ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามแนวคิดของ Hair และคณะ จำนวน 410 คน จากประชาชนใน 15 อำเภอในจังหวัดนครสวรรค์ โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.921 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ค่าสถิติ Bartlett's Test of Sphericity มีค่าทดสอบเท่ากับ 8670.903 (p < .000) แสดงว่า เมทริกซ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้ทั้งหมดของกลุ่มตัวอย่างแตกต่างจากเมทริกซ์เอกลักษณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และค่าดัชนีไกเซอร์-ไมเยอร์-ออลคิน (Kaiser-Meyer-Olkin Measure of Sampling Adequacy: KMO) มีค่าเท่ากับ 0.869 แสดงว่า ตัวแปรในข้อมูลชุดนี้มีความสัมพันธ์กันเหมาะสมที่จะนำไปวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง

  2. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการขับเคลื่อนหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลในจังหวัดนครสวรรค์ที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าไค-สแควร์ มีค่าเท่ากับ 55.61 องศาอิสระเท่ากับ 40 ความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ 0.05143 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืน (GFI) มีค่าเท่ากับ 0.98 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) มีค่าเท่ากับ 0.94 ค่าดัชนีรากของกำลังสองเฉลี่ยของส่วนที่เหลือ (RMR) มีค่าเท่ากับ 0.014 ดังนั้นปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม ภาวะผู้นำ และการสื่อสารมีความสัมพันธ์และส่งผลต่อการขับเคลื่อนหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลในจังหวัดนครสวรรค์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมการปกครอง. (2562). ข้อมูลการปกครองส่วนภูมิภาค ประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559. เข้าถึงได้จาก https://www.zcooby.com/2559-thailand-information-number-statistics.

2. กฤษณ์ รักชาติเจริญ ดำรงศักดิ์ จันโททัย จันทนา อินทฉิม และเมทิณี แสงกระจ่าง. (2016). ปัจจัยชี้วัดความสำเร็จในการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติสู่การปฏิบัติ. วารสาร BU Academic Review, 15(2).

3. กองพุทธศาสนศึกษา. (2551). คู่มือการปฏิบัติงานหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

4. ปิยะ นาควัชระ. (2560). แบบจำลองปัจจัยความสำเร็จของโครงการพลังงานชุมชนต้นแบบ. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(1).

5. พระครูอาทรวชิรกิจ (มานะ ฐานฺสิสฺโร). (2561). การพัฒนาการจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลในจังหวัดกำแพงเพชร. (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

6. Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (Third Edition). New York: John Wiley & Sons. Inc.

7. Hair, J. F., Black. W. C., Babin. B. J. And Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis: A global perspective. (7th ed). New Jersey: Pearson Education Inc.

8. Likert, Rensis. (1970). The Method of Constructing and Attitude Scale. Reading in Attitude Theory and Measurement. Fishbeic. Matin. (Ed). New York: Wiley & Son.

9. Ronna, CT, Laurie C. (2003). Indexes of item-objective congruence for multidimensional items. Int J Test, 3(2).

10. Thayer, Lee O. (1961). Administrative Communication. Homewood Illinois: Richard D. Irwin, Inc.