เกรด: สัญลักษณ์และการให้ความหมายในมุมมองผู้สอนและผู้เรียน

Main Article Content

นิภาพรรณ เจนสันติกุล

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสะท้อนมุมมองของผู้สอนและผู้เรียนเกี่ยวกับการตัดเกรด โดยใช้ฐานข้อมูลจากวารสารวิชาการ ข่าว และเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบและนำเสนอแนวทางการพิจารณาการตัดเกรดอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้ ผลการวิเคราะห์ พบว่า ผู้สอนมีมุมมองต่อการตัดเกรดในลักษณะเป็นสัญลักษณ์ที่ถูกนำมาใช้ในการตีความหมายในด้านคุณภาพและมาตรฐาน การจำกัดจำนวนเกรดที่ผู้เรียนได้ และการใช้ดุลยพินิจในสามลักษณะ คือ 1) การให้เกรดลดลงเพื่อบ่งชี้มาตรฐานและคุณภาพแต่ละเลยเรื่องการให้ความสำคัญกับผู้เรียน 2) การใช้เกรดเพื่อผลประโยชน์ 3) การให้เกรดเพื่อปรับปรุงและพัฒนาผู้เรียน ในมุมมองของผู้เรียน พบว่า การตัดเกรดควรให้ความสำคัญกับเกณฑ์การตัดเกรดที่มีความชัดเจน หากผู้สอนหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติไม่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรอาจทำให้ผู้เรียนรู้สึกถึงความไม่เป็นธรรมในการตัดเกรดและถูกจำกัดและถูกกดทับในความคิดและความเชื่อเรื่องของความสามารถและผลงาน

Article Details

How to Cite
เจนสันติกุล น. . (2020). เกรด: สัญลักษณ์และการให้ความหมายในมุมมองผู้สอนและผู้เรียน. วารสารวิจยวิชาการ, 3(3), 151–161. https://doi.org/10.14456/jra.2020.15
บท
บทความวิชาการ

References

ช่อแก้ว กุญชร ณ อยุธยา. (2552). สัญญะ วาทกรรม และอำนาจ ในภาพยนตร์ชุดเดอะเมทริกซ์ : การวิเคราะห์ตัวบท. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ชุติมา เพชรเชนทร์, นุชรีย์ ชอบงาม, และปิยนุช แก้วนะ. (2555). การตัดเกรด. (รายงานการวิจัย).สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา.

ไทยรัฐออนไลน์. (2558). เก่งจริงหรือปล่อยเกรด? ไขดราม่า นศ.แพทย์คว้าเกียรตินิยมเกินครึ่ง. เข้าถึงได้จาก https://www.thairath.co.th/content/527289

ประทีป ฉัตรสุภางค์, ภัทรียา กิจเจริญ และดรุณี ภู่ขาว. (2557). มาตรฐานจรรยาบรรณที่พึงมีของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา. จดหมายข่าวประชาคมวิจัย, 20(118), 33-35.

มติชนออนไลน์. (2557). แสตมป์แลกเกรด: ความด้อยคุณภาพและคุณธรรมของครู. เข้าถึงได้จาก http://m.matichon.co.th/readnews.php?newsid=1406024772

ลัดดา ผลวัฒนะ. (2557). ธรรมาภิบาลกับการบริหารมหาวิทยาลัย. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 8(2), 16-27.

ลานมะพร้าวออนไลน์. (2560). ต้องยึดเกณฑ์ผลงาน อาจารย์แจงเหตุให้เอยกห้องไม่ได้. เข้าถึงได้จาก http://www.coconews.in.th/index.php/educationnews/38-can-t-get-a-

วิรัช วรรณรัตน์. (2560). คะแนนสอบและการตัดเกรด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 2(3), 1-11.

สามารถ มังสัง. (2551). แลกเกรดกับเพศสัมพันธ์: จุดเสื่อมในวงการศึกษา. เข้าถึงได้จาก http:// www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9510000049583

สุวรรณี ธูปจีน, มณเฑียร รัตนศิริวงศ์วุฒิ, และมนต์ชัย เทียนทอง. (2560). การตัดเกรดแบบวิธีการฟัซซีเซต สำหรับการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 25(3), 388-400.

หนังสือพิมพ์สื่อมวลชน. (2560). เปิดโปงอาจารย์รับสินบนเรียกเงินนิสิตเพื่อแลกเกรด. เข้าถึงได้จาก https://suemuanchonnews.com/2017/04/30/.

Allen, J. D. (2005). Grades as valid measures of academic achievement of classroom learning. The Clearing House, 78(5), 218-223.

Foucault, M. (1972). The Archaeology of Knowledge and the Discourse on Language. Translated by Alan Sheridan. New York: Pantheon Books.

Krawczyk, R. M. (2017). Effects of Grading on Student Learning and Alternative Assessment Strategies. Minnesota: Catherine University.