การป้องกันตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม ในเขตพื้นที่แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาพฤติกรรมการป้องกันตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมของประชาชนในเขตพื้นที่แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร และ 2. เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมของประชาชนในเขตพื้นที่แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน จังหวัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 นาย จากประชากร จำนวน 16,273 นาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการป้องกันตนเอง ด้านชุมชน และด้านการป้องกันจากสื่อออนไลน์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกรณี 2 ตัวอย่าง (t-test independent) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัย พบว่า 1. พฤติกรรมการป้องกันตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมของประชาชน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับ มากที่สุด และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรกคือ ด้านชุมชน รองลงมา คือ ด้านการป้องกันตนเอง ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการป้องกันจากสื่อออนไลน์ และ 2. ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมของประชาชน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร พบว่า เมื่อจำแนกตาม อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน โดยภาพรวมพฤติกรรมการป้องกันตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการจำแนกตาม เพศ พบว่า โดยภาพรวมพฤติกรรมการป้องกันตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมไม่แตกต่างกัน
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
เจษฎา ภุมรา. (2551). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมชุมชน เทศบาลหาดเจ้าสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี. (ภาคนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
ปราโมทย์ จันทร. (2558). แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในเขตพื้นที่สถานีตำรวจนครบาลบางโพพาง. (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยติธรรม). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรังสิต.
พิสิฐ ระฆังวงษ์ และประพนธ์ สหพัฒนา. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 10(2).
สุนิสา อินอุทัย. (2557). การป้องกันตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป). วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ: มหาวิทยาลัยบูรพา.
อนุชัย จินดารัตน์. (2552). การให้ความร่วมมือของประชาชนต่อการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมของข้าราชการตำรวจในเขตอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.